วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมา ASEAN

ประวัติความเป็นมา ASEANPDFพิมพ์อีเมล


          อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และมีนโยบายแข่งขันในการผลิต การส่งออก การตลาด การหาแหล่งทุนและเทคโนโลยี ทำให้การเจริญเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างช้า ๆ ปฏิญญาอาเซียนหรือปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิญญาในการก่อตั้งอาเซียน ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน ดังนี้ เร่งรัดความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัย ความร่วมมือระหว่างกันส่งเสริม พื้นฐานและเสถียรภาพ ในภูมิภาค โดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัติ สหประชาชาติส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม วิจัย ในด้านการศึกษา วิชาชีพ เทคนิค และการบริหารร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายการค้า การศึกษา ปัญหาการค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่งและคมนาคม และการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น

          ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากการก่อตั้ง อาเซียนให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับ ความคิด เห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จ เป็นรูป ธรรมมากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวาง รากฐาน ความ สำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) และสนธิสัญญาไมตรีและ ความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ซึ่งขยาย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ อาเซียนไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านโภคภัณฑ์พื้นฐานโดยเฉพาะอาหารและพลังงาน การจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระยะยาว การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน และการ แก้ไขปัญหาโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ และประเด็นเศรษฐกิจโลกอื่น ๆ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย

          ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532

          จนกระทั่งปี2533องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนไดตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียนก่อน การจัดตั้งอาฟตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การรวมตัวเกิด จากการ คุกคาม ความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็น ภูมิภาคเดียวกันแต่ละประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออก และเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนัก เลขาธิการอาเซียน มีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน

          อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]

          ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งอาฟตาขึ้นในขณะนั้น มีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 อาเซียนจึงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของอาเซียน

          เพียงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังจากการจัดตั้งอาฟตาในปี 2536 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการขยายตัวทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในเชิงลึก เช่น ปี 2537 – เร่งรัดการจัดตั้งอาฟตาจาก 15 ปี เป็น 10 ปี นำสินค้าซึ่งเดิมยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาลดภาษี ขยายขอบเขตสินค้าที่ต้องลดภาษีให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ขยายขอบเขตความร่วมมืออาเซียนไปสู่ด้านการขนส่งและสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2538 - เร่งรัดอาฟตาโดยขยายรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2543 และให้มีรายการ ที่ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้มากที่สุด และให้เริ่มเปิดการเจรจาเพื่อเปิดเสรีบริการ ให้พิจารณาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และให้มีโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2542 – ประกาศให้อาฟตาเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยจะลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 และ 2558 สำหรับสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ ตามลำดับ

          การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว


วิวัฒนาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนจนถึงแผนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

          อาเซียนมีการเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับความคิดเห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป รวมทั้งทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวางรากฐานความสำเร็จในอนาคต

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมแล้ว อาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาโดยตลอด โดยมีวิวัฒนาการที่สำคัญ ดังนี้
ปี พ.ศ./คศ.
วิวัฒนาการและการดำเนินการ
2535 (1992)
การพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าโดยการเร่งลดภาษีสินค้าและยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีภายในอาเซียน
2538 (1995)
ริเริ่มความร่วมมือด้านการค้าบริการของอาเซียน โดยจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service: AFAS) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเป็นผู้ให้บริการในภูมิภาค
2538 (1995)
การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียน
2540 (1997)
กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) เป้าหมายในด้านเศรษฐกิจของอาเซียน คือ สร้างอาเซียนให้เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการและการลงทุน รวมทั้งเงินทุนอย่างเสรี
2541 (1998)
จัดทำแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action: HPA) เพื่อเป็นแผนปฏิบัติการให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ระยะเวลา 6 ปี (2543 - 2547)
2543 (2000)
ประกาศความคิดริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ของอาเซียนในการปรับตัวรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนได้ตามกำ หนดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
2544 (2001)
จัดทำแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN: RIA) ประกอบด้วยแนวทางขั้นตอน และกรอบเวลา ในการดำเนินการให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียน รวมทั้งให้ศึกษาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
(ASEAN Competitiveness Study) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและเร่งรัดการรวมกลุ่มของอาเซียน
2545 (2002)
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้แน่ชัดเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community: AEC)
2546 (2003)
ผู้นำอาเซียนประกาศแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี ค.ศ. 2000

2547 (2004)
ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารรายฉบับ รวม 11 ฉบับ ซึ่งมี Roadmap เพื่อการรวมกลุ่มสาขาสำคัญเป็นภาคผนวก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำร่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน 11 สาขาสำคัญก่อน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ อิเลคทรอนิกส์ สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การบิน และต่อมาได้เพิ่มสาขาที่ 12 คือสาขาโลจิสติกส์
2548 (2005)
เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนพิจารณาทบทวน ปรับปรุงแผนงานการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนในระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและรวมข้อเสนอของภาคเอกชน
2549 (2006)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนและพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญ (ฉบับแก้ไข)
2550 (2007)
- ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 และเพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2020
- ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทสำหรับกฎบัตรอาเซียน เพื่อสร้างนิติฐานะให้อาเซียนและปรับปรุงกลไก/กระบวนการดำเนินงานภายในอาเซียน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน

ผลกระทบต่อวัฒนธรรมของประเทศไทย


      หลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลำที่ชัดเจนในการดาเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าเพื่อสร้าง พันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
อาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สาคัญดังนี้
  1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
  2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
  3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทำงเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
  4.   การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

โดยมีรายละเอียดแยกตามหัวข้อดังนี้
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เป็นยุทธศาสตร์สาคัญของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยอาเซียนได้กำหนดกลไกและมาตรการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว เร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในสาขาที่มีความสาคัญลำดับแรก อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคคล แรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสถาบันในอาเซียน
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
(1) การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
(2) การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
(3) การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
(4) การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีขึ้น
(5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
ทั้งนี้ อาเซียนได้กำหนด 12 สาขาอุตสาหกรรมสาคัญลำดับแรกอยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การขนส่งทำงอากาศ สุขภาพ e-ASEAN ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ รวมทั้งความร่วมมือในสาขาอาหาร เกษตรและป่าไม้
การเป็นตลาดสินค้าและบริการเดียวจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการผลิตใน ภูมิภาค และเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมกันดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของอาเซียน
ได้แก่ยกเลิกภาษีศุลกากรให้หมดไป ทยอยยกเลิกอุปสรรคทำงการค้าที่มิใช่ภาษี ปรับประสานพิธีการด้านศุลกากรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทำงธุรกรรม เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี นักลงทุนอาเซียนสามารถลงทุนได้อย่างเสรีในสาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศ สมาชิกอาเซียนเปิดให้ เป็นต้น
2. การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน
เป้าหมายสาคัญของการรวมกลุ่มทำงเศรษฐกิจของอาเซียน คือ การสร้างภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง มีความเจริญรุ่งเรือง และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันมี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) นโยบายการแข่งขัน (2) การคุ้มครองผู้บริโภค (3) สิทธิในทรัพย์สินทำงปัญญา (IPR) (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (5) มาตรการด้านภาษี (6) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อผูกพันที่จะนากฎหมายและนโยบายการแข่งขันมาบังคับ ใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันของภาค ธุรกิจที่เป็นธรรม นาไปสู่การเสริมสร้างการขยายตัวทำงเศรษฐกิจในภูมิภาคในระยะยาว
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทำงเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
การพัฒนาทำงเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลำงและขนาดย่อม (SME) (2) ความริเริ่มในการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration: IAI) ความริเริ่มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งในระดับ SME และเสริมสร้างการรวมกลุ่มของกัมพูชา ลำว พม่า และเวียดนาม ให้สามารถดาเนินการตามพันธกรณีและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอา เซียน รวมทั้งเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่ม ทำงเศรษฐกิจ
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
อาเซียนอยู่ในท่ามกลำงสภาพแวดล้อมที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันและมีเครือ ข่ายกับโลกสูง โดยมีตลาดที่พึ่งพากันและอุตสหกรรมระดับโลก ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจของอาเซียนสามารถแข่งขันได้ในตลาดระหว่างประเทศ ทำให้อาเซียนมีพลวัตรเพิ่มขึ้นและเป็นผู้ผลิตของโลก รวมทั้งทำให้ตลาดภายในยังคงรักษาความน่าดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาเซียนจึงต้องมองออกไปนอกภูมิภาค
อาเซียนบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยดาเนิน 2 มาตรการคือ (1) การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และความเป็นหุ้นส่วนทำงเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (CEP)กับประเทศนอกอาเซียน (2) การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทำนโลก


• กว่า 41 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การก่อตั้งองค์กร ผลงานของอาเซียน ถือได้ว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่ายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา และด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในภาพรวม สามารถสรุปได้ดังนี้
1)  ด้านการเมืองและความมั่นคง: ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่เกิดขึ้น อาทิ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความตกลงเพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นเขตแห่งสันติภาพ อิสรภาพและความเป็นกลาง มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาค รวมถึงสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน (เช่น การไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์และการไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา) และช่วยป้องกันความแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการดึงดูดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศให้เข้าร่วมหารือและมีความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงร่วมกับอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไก การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นด้านการเมืองและ ความมั่นคงเพียงที่เชื่อมประเทศทั้งสองภูมิภาคเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซียและสหภาพยุโรป เข้าร่วมอยู่ด้วย
2)  ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ: อาเซียนได้วางรากฐานของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และการมีความตกลงกันทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เช่น การคมนาคม การท่องเที่ยว การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ ก็เพื่อเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากราคาสินค้าในหลายรายการที่ผลิตและค้าขายภายในประเทศสมาชิกอาเซียนมีราคาลดลงถูกลง ในขณะที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือการที่พลเมืองของหลายประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีกหลายประเทศโดยไม่ต้องใช้วีซ่า เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศหรือกลุ่มประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน (ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อกลุ่ม/ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน”) อีกด้วย
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม: อาเซียนมีความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและโรคเอดส์ การป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ต่างก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ อาทิ การมีความตกลงว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามชาติที่เกิดจากไฟป่า การมีมาตรการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรคซาร์ส และไข้หวัดนก และการดำเนินการเพื่อทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปลอดยาเสพติดภายในปี 2558 เป็นต้น
• ในภาพรวม ไทยได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและสันติภาพอันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้ามาลงทุนและท่องเที่ยวในประเทศไทย การที่ไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้มากขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง รวมถึงการมีนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดินทางยังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และการที่ไทยสามารถแก้ไข
ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น โรคระบาด เอดส์ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และอาชญากรรมข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากการมีความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งหากไม่มีแล้ว ก็คงเป็นการยากที่ไทยจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยลำพัง


ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยได้รับจากกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน

• ในด้านดุลการค้า ก่อนเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ไทยขาดดุลการค้ากับกลุ่มอาเซียน โดยมีสัดส่วนการส่งออกของไทยไปอาเซียนคิดเป็น 12% ของการส่งออกของไทยทั้งหมด แต่ภายหลังมี AFTA ในปี 2535 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าในระดับสูงมาตลอด และสัดส่วนการส่งออกของไทยไปอาเซียนก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยคิดเป็นกว่า 21% ของการส่งออกของไทยทั้งหมดในปัจจุบัน ทั้งนี้ มูลค่าการค้าส่งออกจากไทยไปอาเซียน 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) คิดเป็นมูลค่า 22,932.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก ปี 2549 ในช่วงเดียวกัน (ซึ่งมีมูลค่า 20,156.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จำนวน 2,776.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 4,658.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ในด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เข้ามายังกลุ่มประเทศอาเซียน ปรากฏว่า สัดส่วนการลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในไทยได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2538 ไทยมีสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในอาเซียน คิดเป็น 7.69% (มูลค่าประมาณ2,004 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยถือเป็นอันดับ 5 ในอาเซียน ในขณะที่ในปี 2549 ไทยมีสัดส่วนการลงทุนของ นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในอาเซียน เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 18.9 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 9,751 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ไทยเป็นอันดับ 2 ของแหล่งลงทุนในอาเซียน ทั้งนี้ การลงทุนในไทยของ นักลงทุนที่มาจากประเทศสมาชิกอาเซียน ก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน โดยในปี 2549 นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย มีมูลค่าสูงถึง 2,882 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 270% เมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนของปี 2548
• ในด้านการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนมายังไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2550 สูงถึง 2,193,211 คน ส่วนปี 2549 จำนวนนักท่องเที่ยวอาเซียนมายังไทยมีสูงถึง 3,556,395 คน
• ในภาพรวม ภาครัฐของไทย ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนมาโดยตลอด เนื่องจากเล็งเห็นว่า อาเซียนเป็นตลาดที่มีความสำคัญและมีศักยภาพในการเจริญเติบโตต่อไป ประกอบด้วยประชากรรวมกันกว่า 560 ล้านคน โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสาขาสำคัญจะช่วยให้ไทยสามารถขยายการค้าและการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพได้มากขึ้น เช่น สาขาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสาขาบริการ อาทิ การท่องเที่ยว การบริการสุขภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสาขาต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสาขาที่อาเซียนจะเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้เห็น ผลเป็นรูปธรรมภายในปี 2553 ในส่วนของภาคเอกชน ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและใช้โอกาสจากการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ลง ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

ประเทศไทย

วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ

วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ จนกลายเป็นวัฒนธรรมซึ่งนานาชาติยกย่อง และคนไทยมีความภาคภูมิใจมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ ได้แก่
    ภาษาไทย ไทยเรามีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้ใน พ.ศ.1826 และได้มีการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาเปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ เนื่องจากเราได้มีการติดต่อเกี่ยวกับนานาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม จึงได้รับวัฒนธรรมภาษาต่างชาติเข้ามาปะปนใช้อยู่ในภาษาไทย แต่ก็ได้มีการดัดแปลงจนกลายเป็นภาษาไทยในที่สุด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้

ศาสนา พลเมืองไทยส่วนใหญ่ของประเทศเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา และเป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านบ้านมาช้านานแล้ว ศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมด้านอื่นๆ คนไทยได้ยึดถือเอาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทั้งส่วนรวมและส่วนบุคคล จะมีพิธีทางศาสนาพุทธเกี่ยวข้องอยู่เสมอ

    การแต่งกาย การแต่งกายของคนไทยมีแบบฉบับ และมีวิวัฒนาการมานานแล้ว โดยจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน ตามสมัยและโอกาสต่างๆ โดยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่แต่งกายตามสากลอย่างชาวตะวันตก หรือตามแฟชั่นที่แพร่หลายเข้ามา แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังมีจิตใจที่รักในวัฒนธรรมการแต่งกายของไทยแบบดั้งเดิมอยู่ ดังจะเห็นได้จากในงานพิธีกรรมต่างๆ จะมีการรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทย หรือชุดไทย หรือรณรงค์ให้ใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชาติอื่นให้ความชื่นชม

ศิลปกรรม ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงานที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม

ประเทศอินโดนีเซีย


อินโดนีเซีย
ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีหมู่เกาะมากที่สุด และใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยเกาะใหญ่ ๆ ห้าเกาะ และหมู่เกาะเล็ก ๆ อีกประมาณ ๓๐ หมู่เกาะ รวมแล้วมีอยู่ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เป็นเกาะที่มีคนอยู่อาศัยประมาณ ๖,๐๐๐ เกาะ รูปลักษณะหมู่เกาะจะวางตัวยาวไปตามแนวเส้นศูนย์สูตร คล้ายรูปพระจันทร์ครึ่งซีกหงาย 
            คำว่าอินโดเนเซีย มาจากคำในภาษากรีกสองคำคือ อินโดซ หมายยถึง อินเดียตะวันออก และนิโซสหมายถึงเกาะ จึงมีความหมายว่า หมู่เกาะอินเดียตะวันออก 
            หมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิค จึงเป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างสองมหาสมุทร และสะพานเชื่อมระหว่างสองทวีปคือ ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย
            อินโดนีเซียมีพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร มีพื้นน้ำใหญ่เป็นสี่เท่าของพื้นที่แผ่นดิน อาณาเขตจากตะวันออกไปตะวันตก ยาวประมาณ ๕,๑๐๐ กิโลเมตร จากเหนือจรดใต้ยาวประมาณ ๑,๘๐๐ กิโลเมตร 
            เกาะใหญ่ทั้งห้าเกาะ ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา มีพื้นที่ประมาณ ๔๗๓,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร  เกาะกาลิมันตัน มีพื้นที่ประมาณ ๕๓๙,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร (เฉพาะดินแดนของอินโดนีเซีย ซึ่งประมาณสองในสามของพื้นที่เกาะบอร์เนียวทั้งหมด) เกาะสุลาเวสี มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๙,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร  เกาะชวา มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๒,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอิเรียนจายา (อิเรียนตะวันตก) มีพื้นที่ประมาณ ๔๒๒,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร 
            หมู่เกาะอินโดนีเซีย แบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์ ออกได้เป็นสี่ส่วนคือ 
                    หมู่เกาะซุนดาใหญ่  ประกอบด้วย เกาะสุมาตรา เกาะชวา กาสิมันตัน และสุลาเวสี 
                    หมู่เกาะซุนดาน้อย  รวมเกาะต่าง ๆ จากบาหลีไปทางตะวันออกถึงตะมอร์ 
                    หมู่เกาะโมลุกกะ (มาลุกุ)  ประกอบด้วย หมู่เกาะที่อยู่ระหว่างเกาะอิเรียนจายา ถึงเกาะสุลาเวสี 
                    หมู่เกาะอิเรียนจายาประเทศอินโดนีเซีย  มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่าง ๆ ดังนี้
                    ทิศเหนือ  ทิศเหนือของเกาะกาลิมันตัน ติดต่อกับรัฐซาราวัคและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย โดยมีสันเขาเป็นเส้นกั้นพรมแดน 
                    ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอิเรียนจายา  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศฟิลิปปินส์ 
                    ทิศตะวันออก  ติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกินี 
                    ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ  ติดต่อกับน่านน้ำของประเทศมาเลเซีย โดยมีช่องแคบมะละกาเป็นพรมแดนระหว่างเกาะสุมาตรากับประเทศมาเลเซีย 
ลักษณะภูมิประเทศ 
            หมู่เกาะอินโดนีเซีย สามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้สามส่วนคือ 
                   ส่วนที่ ๑  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซุนดา ได้แก่บริเวณเกาะชวา เกาะสุมาตรา และเกาะกาลิมันตัน กับร่องน้ำระหว่างเกาะต่าง ๆ เหล่านี้กับฝั่งทะเลของประเทศมาเลเซีย และอินโดจีน มีระดับน้ำลึกไม่เกิน ๗๒๐ ฟุต 
                    ส่วนที่ ๒  พื้นที่บริเวณไหล่ทวีปซาฮูลคือเกาะอีเรียนจายา และเกาะอารู มีอาณาเขตจากฝั่งทะเลออสเตรเลียทางเหนือ ระดับน้ำลึกไม่เกิน ๗๐๐ ฟุต 
                    ส่วนที่ ๓  บริเวณพื้นที่ระหว่างบริเวณไหล่ทวีปซุนดา และไหล่ทวีปซาฮูล ได้แก่ บริเวณหมู่เกาะนูซาแตงการา มาลูกู สุลาเวสี มีความลึกของระดับน้ำถึง ๑๕,๐๐๐ ฟุต








ภูเขา  ภูเขาที่สำคัญ ๆ มีอยู่ประมาณ ๑๐๐ ลูก จากจำนวนประมาณ ๔๐๐ ลูก ภูเขาที่สูงที่สุดตามเกาะต่าง ๆ มีดังนี้ 
                    ภูเขาเกรินยี  อยู่บนเเกาะสุมาตรา สูง ๑๒,๔๖๐ ฟุต 
                    ภูเขาเซมารู  อยู่บนเกาะชวา สูง ๑๒,๐๔๐ ฟุต 
                    ภูเขาแรนโตคอมโบรา  อยู่บนเกาะสุลาเวสี สูง ๑๑,๓๐๐ ฟุต 
                    ภูเขาปุมจักชวา  อยู่บนเกาะอิเรียนจายา สูง ๑๖,๐๐๐ ฟุต 
            ที่ราบ  โดยทั่วไปมีพื้นที่ราบน้อย ส่วนใหญ่เป็นที่ราบบริเวณเชิงเขา และบริเวณชายฝั่งทะเล ชายฝั่งทะเลมักเป็นที่ราบต่ำ บริเวณทางทิศตะวันออกของเกาะสุมาตรา และทางตอนเหนือของเกาะชวา จะมีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่คลุมไปถึงบริเวณริมฝั่งทะเล และนอกจากนี้ก็มีบริเวณชายฝั่งของเกาะกาลิมันตัน และเกาะอีเรียนจายา 
            แม่น้ำและทะเลสาป  เนื่องจากหมู่เกาะอินโดนีเซีย อยู่ในเขตมรสุมจึงมีฝนตกชุกตลอดปี และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงทำให้เกิดแม่น้ำ และทะเลสาปอยู่บนเกาะต่าง ๆ มากมาย แม่น้ำและทะเลสาบที่สำคตัญได้แก่ 
               บนเกาะสุมาตรา   มีแม่น้ำมุสิ แม่น้ำบาตังฮาริ และแม่น้ำกำปา 
                บนเกาะกาลิมันตัน  มีแม่น้ำดาพัวส์ แม่น้ำมาริโต แม่น้ำมหกรรม และแม่น้ำงาจัง 
                บนเกาะอิเรียนจายา  มีแม่น้ำเมมเปอราโม และแม่น้ำติกัล 
                บนเกาะชวา  มีแม่น้ำเบนกาวันโซโล แม่น้ำซิตาวัม และแม่น้ำบราตัส 
            ทะเลสาบที่สำคัญ ๆ ส่วนมากจะอยู่บริเวณกลางเกาะคือ 
                บนเกาะสุมาตรา  มีทะเลสาบปโตมา ทะเลสาบมาบินิจอ  และทะเลสาบซิงการัก
บนเกาะสุลาเวสี  มีทะเลสาบเทมบิ ทะเลสาบโทวูติ ทะเลสาบสิเดนเรว ทะเลสาบปูโซ ทะเลสาบลิมลิมโบโต และทะเลสาบตันตาโน 
                บนเกาะอิเรียนจายา  มีทะเลสาบพิเนีย และทะเลสาบเซนตานี







            สมุทรศาสตร์  ประเทศอินโดนีเซีย ประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆ มีมหาสมุทรล้อมรอบทั้งสามด้าน ระดับความลึกของน้ำทะเลจึงแตกต่างกันไป บริเวณที่น้ำตื้นส่วนใหญ่จะมีหินโสโครก และหินปะการัง เนื่องจากลาวาของภูเขาไฟ เกาะใหญ่น้อยของอินโดนีเซียมีลักษณะแยกกัน จึงก่อให้เกิดเส้นทางผ่านทะเลเป็นจำนวนมาก 
            เขตเวลา  ประเทศอินโดนีเซีย แบ่งเขตเวลาออกเป็นสามเขต ได้มีการประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ คือ 
                - เวลามาตรฐาน อินโดนีเซียตะวันตกเท่ากับ G.M.T บวกเจ็ดชั่วโมง (เส้นเมอริเดียน ๑๐๕ องศาตะวันออก) คลุมถึงเกาะสุมาตรา เกาะชวา มาดูรา และเกาะบาหลี 
            ทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ  อินโดนิเซียได้ออกคำประกาศเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ ว่า อินโดนิเซียมีความจำเป็นต้องใช้ทฤษฎีน่านน้ำบริเวณหมู่เกาะ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชนในประเทศ พร้อมกับข้อเสนอเรียกร้องสามประการคือ 
                - ให้ลากเส้นเชื่อมโยง รอบนอกของเกาะทุกเกาะ และแนวปะการังเข้ารวมเป็นดินแดนทั้งหมดของอินโดนิเซีย 
                - ให้อินโดนิเซียมีอธิปไตยเหนือน่านน้ำดังกล่าวข้างต้น รวมตลอดถึงพื้นที่ในอากาศเหนือน่านน้ำ พื้นที่ใต้ทะเล พื้นที่ใต้ดิน และทรัพยากรต่าง ๆ 
                - เรียกร้องสิทธิที่จะกำหนดขอบเขตทางทะเล เศรษฐกิจทางทะเล และวางข้อกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับทะเล น่านน้ำอาณาเขต 
                เดิมข้อเสนอของอินโดนิเซีย ถูกคัดค้านอย่างกว้างขวาง แต่ต่อมาปรากฎว่า หลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ได้แสดงท่าทีผ่อนคลายลงมาก 
                หากอินโดนิเซีย ประสบผลสำเร็จแล้ว จะทำให้อินโดนิเซีย มีดินแดนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ ๘.๗๕ ล้านตารางกิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นส่วนที่เป็นพื้นดินประมาณ ๒ ล้านตารางกิโลเมตร และยังสามารถคุมเส้นทางเดินเรือ ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย กับมหาสมุทรแปซิฟิก จะทำให้อินโดนิเซียมีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจ และการทหารในบริเวณพื้นที่แถบนี้มากขึ้น 
ประชากร







ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายมาเลย์ ประมาณร้อยละ ๙๕ ที่เหลือเป็นอินเดีย อาหรับ จีน และชาวยุโรป แต่ถ้าแบ่งตามหลักฐานชาติวงศ์วิทยาแล้ว ถือว่าชาวอินโดนีเซียมีต้นกำเนิดมาจาก ๓๖๕ เชื้อชาติ รวมเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้สี่กลุ่มด้วยกันคือ 
                เมสเลเนเซียน (Melanesians) เป็นเผ่าพันธุ์ที่ผสมกันระหว่างกลุ่มมองโกลลอยด์ กับวาจาด 
                โปรโตออสโตรเนเซียน (Proto - Autronesians) 
                โพลีเนเซียน (Polynesians) 
                โมโครเนเซียน (Micronesians) 
            ประชากรที่มีเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ เหล่านี้ อาศัยอยู่ตามเกาะสุมาตรา เกาะชวาตะวันตก เกาะมาดูรา เกาะบาหลี เกาะลอมบก  เกาะตีมอร์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุลาเวสี เกาะอีเรียนจายา และตามแนวชายแดนด้านตะวันตก 
            ลักษณะของชาวอินโดนีเซีย จะมีตาคม ผมดำ ผิวสีน้ำตาล กระดูกแก้มกว้าง ตาเล็ก จมูกใหญ่ มีความสูงประมาณ ๕ - ๖ ฟุต พอกับความสูงของคนไทยทั่วไป 
            ประชากรของอินโดนีเซีย มีมากเป็นอันดับห้าของโลก รองลงมาจาก จีน อินเดีย โซเวียตรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อย
           ละ ๖๓ จะอยู่ทีเกาะชวา และเกาะมาดูรา
จำนวนประชากรกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ คือ 
                เกาะชวา  มีพื้นที่ประมาณ ๑๓๒,๒๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับสี่ของอินโดนิเซีย มีพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ในบรรดาเกาะทั้งหลายของอินโดนิเซีย ประมาณร้อยละ ๗๐ ของประชากรทั้งหมด โดยเฉพาะที่เมืองจาการ์ตา ซึ่งเป็นเมืองหลวงมีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด กว่าทุกเมืองในอินโดนิเซีย 
                เกาะกาลิมันตัน  มีพื้นที่ประมาณ ๕๓๙,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศ แต่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มากนัก ประมาณร้อยละ ๔ ของประชากรทั้งหมด 
                เกาะสุมาตรา  มีพื้นที่ประมาณ ๔๗๓,๖๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับสองของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่เป็นอันดับสอง รองลงมาจากเกาะชวา ประมาณร้อยละ ๔ ของประชากรทั้งหมด 
                เกาะสุลาเวสี  มีพื้นที่ประมาณ ๑๘๙,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่ อันดับสามของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๖ ของประชากรทั้งหมด 
                เกาะมาลูกู  มีพื้นที่ประมาณ ๗๔,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร เป็นเกาะใหญ่อันดับห้าของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๑ ของประชากรทั้งหมด 
                หมู่เกาะนุสาเตงการา บาหลี และติมอร์  มีพื้นที่ประมาณ ๗๖,๓๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๕ ของประชากรทั้งหมด 
                เกาะอิเรียนจายา  มีพื้นที่ประมาณ ๗๒,๗๐๐ ตารางกิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณร้อยละ ๑ ของประชากรทั้งหมด 
           ภาษา  ภาษาประจำชาติของอินโดนีเซีย ได้แก่ บาฮาซา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ยังมีภาษามลายูโปสีนีเซียน และภาษาท้องถิ่นอีกประมาณ ๒๕๐ ภาษา ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่สำคัญรองลงมาจากภาษาประจำชาติ และถือเป็นภาษาบังคับในโรงเรียนมัธยม นอกจากนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในวงราชการและธุรกิจ สำหรับภาษาดัทช์ ใช้พูดกันในหมู่ผู้สูงอายุ 
            ภาษาบาฮาซา อินโดนีเซียได้โครงสร้างและคำส่วนใหญ่มาจากภาษามาเลย์ ประกอบด้วยภาษาท้องถิ่นอีกมากมาย ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จะรู้สองภาษา 
พัฒนาการทางวัฒนธรรม




ขนบธรรมเนียมประเพณี 
                โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม  ประชากรอินโดนีเซียประกอบด้วย หลายเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ แต่ละเผ่าพันธุ์ต่างก็มีมรดกทางวัฒนธรรม และลักษณะทางสังคมของตนสืบทอดกันมา ชนเหล่านี้เมื่อถูกรวมกันเข้าภายใต้ระบบการเมือง เศรษฐกิจและการป้องกันประเทศร่วมกัน 
                จากการที่สภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศอินโดนีเซีย มีลักษณะแยกกันเป็นหมู่เกาะมากมาย และมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ประชากรติดต่อกันได้ยาก ทำให้แต่ละภูมิภาคมีรูปแบบวัฒนธรรมของตนเอง จึงปรากฎลักษณะวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภาษาที่ใช้ผิดแผก แตกต่างกันไป 
                ขนบธรรมเนียมประเพณี  ประชากรกลุ่มต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวิถีชีวิตแตกต่างกันไป ในแต่ละกลุ่มชน ชาวชนบทที่อาศัยอยู่ห่างไกลจากตัวเมือง ยังยึดมั่นอยู่กับประเพณีเดิมอยู่มาก ส่วนกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในตัวเมือง และได้รับการศึกษาแบบตะวันตก จะมีวิถีชีวิตแตกต่างกันออกไป การแบ่งกลุ่มชนตามขนบธรรมเนียมประเพณี และพื้นที่ตั้ง สามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ 
                    กลุ่มแรก  เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในเกาะชวา และบาหลี ผู้คนที่อยู่ในแถบนี้จะยึดมั่นอยู่ในแนวทางของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมเน้นหนักในเรื่องคุณค่าของจิตใจ และสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาศิลปอย่างมากมาย โดยเฉพาะนาฎศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ประชากรจะประพฤติตามหลักจริยธรรม มีการเคารพต่อบุคคลตามฐานะของบุคคลนั้น ๆ 
                    กลุ่มที่สอง  เป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ตามบริเวณริมฝั่งทะเลของเกาะต่าง ๆ ดำเนินชีวิตอยู่ได้ด้วยการประกอบการค้าขาย มีชีวิตทางวัฒนธรรมตามหลักของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด และเป็นนักธุรกิจของสังคมอินโดนีเซียยุคใหม่ และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีความรู้ทางศาสนา และกฎหมาย 
                     กลุ่มที่สาม  เป็นกลุ่มที่มีความล้าหลังมาก อาศัยอยู่ตามบริเวณเทือกเขาในส่วนลึกของประเทศ ดำเนินชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และการเพาะปลูก รัฐบาลอินโดนีเซียได้เข้าไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของชนกลุ่มนี้แล้ว 
                    ในประเทศอินโดนีเซีย มีการกำหนดกฎหมายประเพณีในสังคม ตามความเชื่อในศาสนาซึ่งจะต้องปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และสืบทอดกันมานานแล้ว มีสาระที่สำคัญคือ ความผูกพันระหว่างสามีกับภรรยา พ่อแม่กับลูก และพลเมืองต่อสังคมที่ตนอยู่ โดยยึดหลักการปฎิบัติที่เรียกเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า โกตองโรยอง คือการช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันในงานต่าง ๆ เช่น การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การแต่งงาน การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย การใช้ที่ดินร่วมกัน ภายใต้ข้อตกลงและข้อแม้พิเศษ







                การแต่งกาย  เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายจึงโน้มน้าวไปตามประเพณีของศาสนา 
                    ผู้ชาย  จะนุ่งโสร่ง สวมเสื้อคอปิด แขนยาว สวมหมวกรูปกลม หรือหมวกหนีบ ทำด้วยสักหลาดสีดำ บางครั้งจะนุ่งโสร่งทับกางเกง ประมาณครึ่งตัว โดยปล่อยให้เห็นขากางเกง ในกรณีที่ต้องเข้าพิธี อาจจะมีการเหน็บกริชด้วย ปัจจุบันผู้ชายอินโดนีเซียส่วนใหญ่นิยม แต่งกายแบบสากล แต่ยังคงสวมหมวกแบบเดิม 
                    ผู้หญิง  จะใช้ผ้าไคน์ พันรอบตัว และใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น ผ้าไคน์จะมีลวดลายสวยงามมาก เนื้อดีและราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ผ้าปาติค (Patik) เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ เรียกว่า เคบาจา (Kebaja) เป็นเสื้อที่รัดติดกับตัว แขนยาว สำหรับผู้หญิงชาวเกาะสุมาตรา นิยมสวมเสื้อหลวม ลำตัวยาวเกือบถึงเข่า เรียกว่า บัตยูกรุง และใช้ผ้าห่มพาดไหล่ข้างหนึ่งด้วย ผู้หญิงอินโดนีเซียไว้ผมยาว แล้วเกล้าเป็นมวย และใช้เครื่องประดับ เช่น พลอย หรือดอกไม้ประดับศีรษะ รองเท้าที่ใช้เดิมเป็นรองเท้าแตะ แต่ปัจจุบันเป็นรองเท้ามีส้น และทาสี แกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ สายคาดทำด้วยหนังทาสีเงิน หรือสีทอง สตรีที่นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ แต่ไม่ปิดหน้า ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น การแต่งกายแบบดังกล่าว จะใช้ในโอกาสพิธีสำคัญ ๆ เท่านั้น 
            ศิลปและวรรณคดี  ชาวอินเดียเป็นผู้รักศิลป และวรรณคดีมาช้านานแล้ว สังเกตได้จากลวดลายของเครื่องแต่งกาย บ้านที่พักอาศัย ศาสนสถาน และนาฎศิลป์ต่าง ๆ ศิลปในประเทศอินโดนีเซีย มิได้ยึดถือตามที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตเท่านั้น แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างได้พัฒนาเปลี่ยนไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ที่มีอิทธิพลต่อประเทศอินโดนีเซีย ในขณะนั้น







ศิลปกรรมการปั้น และการแกะสลัก  การทำงานแบบธรรมชาติ โดยใช้ฝีมืออย่างแท้จริง ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบแกะสลักไม้ แกะสลักวัตถุโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และงานแกะสลักหินเป็นรูปต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมฮินดู เพราะศาสนาพราหมณ์ฮินดู เคยเข้ามามีอิทธิพลในอินโดนีเซีย นักแกะสลักที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เป็นชาวบาหลี








สถาปัตยกรรม  มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศและอิทธิพลของศาสนา แต่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อาคารบ้านเรือนของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ส่วนเทวสถานบางแห่ง เช่น สถูปโบโรพุทโธ ซึ่งมีชื่อเสียงมากได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู







นาฏศิลป์  มีรูปแบบแตกต่างกันไปเป็นสองลักษณะ เนื่องจากในอดีตอินโดนีเซียถูกฮอลันดาบีบบังคับให้แบ่งอาณาจักร Matanam ออกเป็นสองส่วนคืออาณาจักรสมาการ์ตา (Sumakarta) และอาณาจักรยอกยาการ์ตา (Yogyakarta) จึงทำให้นาฏศิลป์ชวามีรูปแบบแตกต่างกันออกไปดังกล่าว 
                    แบบสมาการ์ตา (Samakarta)  การแต่งกายจะใช้ผ้าแพรพาดบ่า ท่วงทำนองของวงมโหรีจะนุ่มนวลราบเรียบ มีเส้นแบ่งจังหวะน้อย 
                    แบบยอกยาการ์ตา (Yogyakarta)  การแต่งกายจะใช้ผ้าแพรพันเอว ท่วงทำนองของวงมโหรีจะมีเสียงไม่นุ่มนวล เพราะมีเส้นแบ่งจังหวะมาก 
                    ถึงแม้นาฏศิลป์ทั้งสองแบบจะแตกต่างกันไปบ้างก็ตาม แต่ก็สะท้อนปรัชญาของชวาจากท่าทาง การเคลื่อนไหวมือ - แขน แม้กระทั่งการแสดงออกทางสีหน้า เช่น ตัวละครที่แสดงเป็นธรรมะจะหลบตาลงต่ำเสมอ และจะร่ายรำด้วยลีลาอ่อนช้อย ผสมกลมกลืนอย่างสง่างาม แสดงถึงจิตใจอ่อนโยนบริสุทธิ์ ในทางตรงกันข้าม ตัวละครที่แสดงเป็นอธรรม หรือชั่วร้ายจะแสดง ลักษณะท่วงท่าวางอำนาจ กลอกตาแข็งกร้าว แสดงถึงจิตใจชั่วร้ายหยาบคาย 
                    ปรัชญาของชวามุ่งใฝ่สันติความสงบสุข สุภาพ ถ่อมตัวในการติดต่อกับผู้อื่น เช่นเดียวกับตัวละครที่แสดงเป็นฝ่ายธรรมะ







               
ดนตรี  ในสมัยโบราณ อินโดนีเซียมีวงดนตรีพื้นเมืองมีชื่อเสียงมากเรียกว่า ตมิลาน ประกอบด้วย เครื่องดนตรีคล้ายระนาด กลอง ฆ้อง ซอสองสาย และขลุ่ย ซึ่งนอกจากเป็นดนตรีประจำราชสำนักของสุลต่านต่าง ๆ บนเกาะชวาแล้ว ดนตรีดังกล่าวยังทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาอิสลามด้วย แต่ปัจจุบันวงดนตรีตมิลานได้กลายเป็นวงดนตรีสำหรับการฟ้อนรำ การแสดงนาฏศิลป์ และการแสดงหนังตะลุง นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีวงดนตรีอังกะลุงด้วย 
                ศิลปะการแสดง  การมหรสพของอินโดนีเซียได้แก่ ละครและภาพยนตร์ เค้าโครงเรื่องของละครที่นำมาแสดงส่วนใหญ่คือเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นเทพนิยายในศาสนาฮินดู ตัวละครจะแต่งกายด้วยผ้าปาติก ไม่สวมเสื้อชั้นนอก ใช้สีทาตัวเป็นสีต่าง ๆ ประดับด้วยสร้อยสังวาลย์ นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีการละเล่นอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า วายัง หรือหนังตะลุง เป็นที่นิยมกันมาก เค้าโครงเรื่องส่วนใหญ่เป็นนิยายเกี่ยวกับเรื่องสงครามในศาสนาฮินดู







วรรณคดี  ในสมัยที่ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาได้เข้าไปเผยแพร่ในอินโดนีเซีย วรรณคดีของอินโดนีเซียมีความเจริญอย่างรวดเร็ว หนังสือที่มีชื่อเสียงในระยะนั้นได้แก่เรื่องเนการาเกอร์ตากามา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ และอำนาจของอาณาจักรมัดยาปาหิต นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ได้รับความนิยมกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องปาราราตัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกษัตริย์อินโดนีเซียในสมัยนั้น เขียนเป็นภาษาชวาโบราณ 
                ต่อมาเมื่อศาสนาอิสลามได้แพร่เข้าไปในอินโดนีเซีย ก็ได้มีผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับคำสอนของศาสนาอิสลาม และตำราหมอดูไว้หลายเล่ม โดยเขียนเป็นภาษาชวา
ประวัติศาสตร์








สมัยโบราณ  ในห้วงเวลาก่อนคริสตกาลประมาณ ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปี ได้มีชาวมาเลย์ ซึ่งเป็นเชื้อสายมองโกลอยด์จากจีนตอนใต้ ยูนาน และตังเกี๋ย อพยพเข้าไปในอินโดนิเซีย ชนพวกนี้ได้นำเอาวัฒนธรรมของยุคหินใหม่ ยุคบรอนซ์ รวมทั้งภาษาออสโตรนีเซีย เข้ามาในอินโดนิเซีย รวมตลอดถึงในฟิลิปปินส์ด้วย พวกเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่อาศัย และแต่งงานกับชาวพื้นเมือง สอนให้ชาวพื้นเมืองรู้จักวิธีปลูกข้าว สร้างที่พักอาศัย และรู้ถึงวิธีการปั้นหม้อ และทอผ้า รวมทั้งการหาเลี้ยงชีพ และการผจญภัยในทะเล พวกเหล่านี้มีความสามารถในการเดินเรือ และสามารถแล่นเรือออกไปไกลถึงหมู่เกาะมาดากัสการ์ ทางทิศตะวันตก และเกาะอิเจียน โปลีนีเซียน ตลอดจนหมู่เกาะต่าง ๆ ทางทิศตะวันออก 
            ต่อมาในระยะเวลาประมาณ ๑๐๐ ปี ก่อนคริสตศักราชจนถึงต้นคริสตศักราช ได้มีการติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้า จากบริเวณจีนตอนใต้และหมู่เกาะอินโดนิเซีย 
            ในคริสตศตวรรษแรกได้มีชาวฮินดูจากอินเดียตะวันออกเฉียงใต้ อพยพเข้ามในอินโดนิเซีย และได้นำภาษาสันสกฤต และภาษาปัลวะ เข้ามาเผยแพร่ซึ่งต่อมาได้วิวัฒนาการเป็นภาษาชวาเก่า ชวาใหม่ และอักษรอินโดนิเซียอื่น ๆ การหลั่งไหลเข้ามาในอินโดนิเซียของชาวฮินดู ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสตศตวรรษที่ ๗ ทำให้อิทธิพล และความเชื่อถือในลัทธิต่างๆ ได้ขยายวงกว้างออกไปโดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง ซึ่งในที่สุดได้ผสมผสานกลืนกลายเป็นวัฒนธรรมประจำชาติไป วัฒนธรรมส่วนใหญ่ที่ชาวอินโดนิเซียได้รับจากชาวฮินดู ได้แก่ สถาปัตยกรรมการปั้นรูป วรรณคดี ดนตรี นาฏศิลป์ และการเล่นพื้นเมือง  ซึ่งยังคงมีอยู่ในบาหลี และลอมบอร์กตะวันตก






            ระหว่างปี พ.ศ.๖๔๓ - ๗๔๓ พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท จากอินเดียได้เริ่มเผยแผ่เข้ามาในอินโดนิเซีย ในระยะแรก ๆ ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก จนมาถึงสมัยอาณาจักรศรีวิชัย พุทธศาสนาจึงได้รุ่งเรืองมากขึ้น ในปี พศ.๑๒๑๕ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองปาเลมบัง ในเกาะสุมาตรา และชวาตอนกลาง และเริ่มเสื่อมลงเมื่อสิ้นสุดอิทธิพลของ อาณาจักรศรีวิชัย นับแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๓ 
            ในปี พ.ศ.๑๓๘๙ ชาวอาหรับได้เดินทางมาถึงเกาะสุมาตรา เป็นครั้งแรกเป็นพวกพ่อค้า ต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.๑๔๙๓ พวกพ่อค้าเหล่านี้ ได้นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ด้วย โดยที่ในระยะแรกได้ตั้งศูนย์กลางเผยแพร่ศาสนาขึ้นทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา จากนั้นจึงขยายออกไปทั่วประเทศ 
            สมัยอาณาจักรมอสเลม  เมื่ออาณาจักรฮินดูเริ่มตกต่ำลงระหว่างปี พ.ศ.๒๐๕๐ - ๒๐๖๓  อาณาจักรมอสเลมก็เริ่มรุ่งเรืองขึ้นในชวาตอนกลาง สุมาตรา สุลาเวสี กาลิมันตัน จนถึงอิเรียนตะวันตก  และมีผลให้ภาษามาเลย์ซึ่งชาวมุสลิมบริเวณนี้ใช้อยู่ได้แพร่ขยายออกไปและกลายเป็นภาษาประจำชาติของอินโดนีเซียด้วย 
            ในระยะนั้น เมืองจาการ์ตายังเป็นเมืองท่าเล็ก ๆ บนเกาะชวา มีชื่อว่า ซุนดาเคลาปา ต่อมาเมืองนี้ได้ถูกนายพลฟามาเตอีนแห่งอาณาจักรเดมัดยึดได้ จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็นจาการ์ตา ซึ่งมีความหมายถึงสถานที่แห่งชัยชนะ เพราะเป็นชัยชนะต่อชาวโปรตุเกส ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๖๔ ฮอลแลนด์ได้เข้ามายึดครองอินโดนีเซีย และได้เปลี่ยนชื่อเมืองนี้เป็นปัตตาเวีย 
            สมัยตกเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์  ฮอลแลนด์ได้ตั้งบริษัท United Dutch East India Company  เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๕ เพื่อทำการค้า อยู่ที่หมู่เกาะอินเดียตะวันออก ซึ่งนอกจากทำการค้าแล้ว ยังทำหน้าที่แสวงหาอาณานิคมให้แก่ฮอลแลนด์ด้วย ในที่สุดได้ทำการยึดครองอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๑๖๔ และได้ขยายการปกครองออกไปทั่วประเทศ ทำให้อินโดนีเซียตกอยู่ในฐานะอาณานิคมของฮอลแลนด์ 
            การทำสงครามต่อต้านฮอลแลนด์ได้เริ่มขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๒๐๙ โดยสุลต่านฮานุดดินแห่งโกลา แต่ประสบความล้มเหลว และต้องเซ็นสัญญายอมแพ้ในปี พ.ศ.๒๓๑๐  ในปี พ.ศ.๒๒๓๓ - ๒๓๖๗ บริษัทได้ส่งทหารเข้าควบคุมหมู่เกาะโมลุกกัส (มาลูกู) เพื่อเข้าควบคุมการค้าเครื่องเทศ 
            ในระยะเวลาเดียวกันได้ปรากฏมีชาวอังกฤษเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเบวกูเลน บนฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา และได้มีการสร้างป้อมค่ายขึ้น ในระยะนี้ชาวอังกฤษยังไม่มีบทบาทมากนัก 
            ในปี พ.ศ.๒๒๘๓ ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจาการ์ตาได้ทำการต่อต้านชาวดัตช์ เนื่องจากไม่พอใจที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และในด้านอื่น ๆ   ชาวอินโดนีเซียได้เข้าร่วมในการต่อต้านครั้งนี้ด้วย แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ เป็นผลให้ชาวจีนถูกชาวดัทช์สังหารมากกว่า ๑๐,๐๐๐ คน 
            การเข้าปกครองอังกฤษ  ในระหว่างรัชสมัยของนโปเลียน ฝรั่งเศสได้เข้าครอบครองฮอลแลนด์ บริษัท British East Company  จึงได้เข้าปกครองอินโดนีเซียแทน (พ.ศ.๒๓๕๘ - ๒๓๕๙)  เมื่อนโปเลียนสิ้นอำนาจลงในปี พ.ศ.๒๓๕๘ อินโดนีเซียก็กลับไปเป็นอาณานิคมของฮอลแลนด์อีก 
            การปราบปรามของฉอลแลนด์  นับตั้งแต่อินโดนีเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของฮอลแลนด์ ชาวอินโดนีเซียได้ลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของฮอลแลนด์หลายครั้ง แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ 
            การเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้เอกราช  ได้มีการจัดตั้งสมาคม Budi Utom (ความบากบั่นอันสูงส่ง) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ได้ร่วมกันก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นหลายพรรค เพื่อเป็นข้อต่อรองในการเรียกร้องเอกราชจากฮอลแลนด์ 
            ปี พ.ศ.๒๔๖๗ กลุ่มนักศึกษา ได้ตั้งสมาคมนักศึกษาอินโดนีเซีย โดยมี ดร.โมฮัมหมัดอัตตา เป็นหัวหน้า ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๐ ดร.โมฮัมหมัดอัตตา ได้จัดตั้งองค์การสหพันธ์ โดยยรวมพรรคการเมืองของอินโดนีเซียทั้งหมดเข้าด้วยกัน 
            ในปีเดียวกัน ดร.ซูการ์โน และบุคคลชั้นนำอีกหลายคนได้ร่วมกันจัดตั้งพรรคชาตินิยมอินโดนีเซียขึ้น และใช้ภาษาบาฮาซา อินโนีเซียเป็นภาษากลางในการติดต่อ ประสานงานสนับสนุนนโยบายที่จะไม่ให้ความร่วมมือใด ๆ แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองของฮอลแลนด์ การเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางในกลุ่มเยาวชน และทำให้เกิดองค์การยุวชนขึ้นในท้องถิ่นต่าง ๆ 
            สมัยการยึดครองของญี่ปุ่น  ในระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองอินโดนีเซียได้ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๕ - ๒๔๘๗ กองทัพญี่ปุ่นพยายามเอาใจชาวอินโดนีเซียด้วยการปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองที่ถูกทางการฮอนแลนด์คุมขังไว้ 
            การประกาศอิสระภาพ  เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามใน ปี พ.ศ.๒๔๘๘ ญี่ปุ่นได้เปิดโอกาสให้ชาวอินโดนีเซียในการนำของ ดร.ซูการณ์โน และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา ประกาศอิสระภาพของอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ พร้อมกับประกาศหลักการแห่งรัฐห้าประการ (ปัญจศีล) คือ 
                - เชื่อมั่นในพระเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว 
                - มวลมนุษย์แห่งอารยะ 
                - ชาตินิยม 
                - ประชาธิปไตย 
                - ความยุติธรรมของสังคม 
            อินโดนีเซียได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ และได้เลือกตั้ง ดร.ซูการ์โน เป็นประธานาธิบดี และ ดร.โมฮัมหมัด ฮัตตา เป็นรองประธานาธิบดี 
            หลังจากที่ได้ประกาศอิสระภาพได้ไม่นาน ฮอนแลนด์ก็ได้พยายามกลับเข้ายึดครองอินโดนีเซียอีก ทำให้เกิดการสู้รบอย่างรุนแรงบนเกาะสุมาตรา เมื่อ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๘ อินโดนีเซียจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันวีรบุรุษแห่งชาติ และมีการฉลองเป็นประจำทุกปี 
            จากเหตุการนองเลือดดังกล่าว ทำให้อินโดนีเซียประกาศใช้นโยบายสันติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศ และแสวงหาการสนับสนุนจากอังกฤษ ได้ตกลงเซ็นสัญญา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ โดยฮอนแลนด์ยอมรับรองอธิปไตยของอินโดนีเซียเหนือเกาะชวา มาดุรา และสุมาตรา แต่ฮอนแลนด์ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา ได้ให้ทหารเข้ายึดครองอินโดนีเซีย และจับกุมประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีไปควบคุมตัวไว้ 
            ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ ประเทศในเอเซียรวม ๑๙ ประเทศ ได้ร่วมประชุมกันที่กรุงนิวเดลฮี เพื่อเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ บังคับให้ฮอลแลนด์ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง ของอินโดนีเซียทั้งหมด และมอบอธิปไตยให้อินโดนีเซีย ภายในปี พ.ศ.๒๔๙๓ สหประชาชาติได้ตกลงให้มีการหยุดยิงในอินโดนีเซีย และให้ฮอลแลนด์ปล่อยตัวผู้นำทางการเมืองทั้งหมด กับจัดให้มีการประชุมขึ้นที่กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้อินโดนีเซีย ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อ ๒๗ ธันวาคม ๒๔๙๒  ยกเว้นเกาะอิเรียนตะวันตก ยังคงอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์ 
สภาพทางสังคม





ชีวิตความเป็นอยู่  ฐานะความเป็นอยู่ของประชากรมีความแตกต่างกันมาก ส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน หลังจากอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ก็ได้เริ่มพัฒนาประเทศในหลายด้าน โดยตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นหลายแห่ง มีหน่วยงานที่สำคัญคือ กระทรวงกิจการของสังคม
            นอกจากหน่วยงานของรัฐแล้วยังมีองค์การ และสมาคมต่าง ๆ ที่พยายามเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาของสังคมอยู่เป็นจำนวนมาก โดยยึดหลักขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ระบบโกตองโรยองได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 
            อาชีพ  อาชีพหลักของประชาชนอินโดนีเซียได้แก่ 
                การเพาะปลูก  ผลิตผลที่สำคัญทำรายได้ให้กับประเทศได้แก่ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด มันเทศ ยาง มะพร้าวและน้ำตาล 
                การทำป่าไม้  อินโดนีเซียมีพื้นที่ป่าประมาณ ๑๑๔ ล้านเฮกตาร์ และนโยบายของรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตไม้แปรรูป จึงเป็นอาชีพสำคัญอาชีพหนึ่งของประชาชน 
                การประมง  แม้อินโดนีเซียจะเป็นเกาะ แต่อาชีพทางการประมงยังไม่ค่อยเจริญ ประชาชนที่มีอาชีพประมงก็เป็นประชาชนที่อยู่ตามชายฝั่งทะเล การใช้เครื่องมือทางประมง ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เป็นการประมงขนาดย่อม 
                การเลี้ยงสัตว์  มีการเลี้ยงกันเกือบทุกชนิด แต่ที่นิยมกันมาก และมีปริมาณการผลิตสูงได้แก่วัวเนื้อ วัวนม ควาย แพะและแกะ 
                การทำเหมืองแร่  เป็นอาชีพสำคัญของประชากร เพราะประเทศอินโดนีเซียอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่ธาตุต่าง ๆ 
                การอุตสาหกรรม  อินโดนีเซียมีโรงงานอุตสาหกรรมหลายประเภทที่สำคัญ ๆ ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป โรงงานผลิตเครื่องมือทางการเกษตร โรงงานยาสูบ โรงงานอุตสาหกรรมไม้แปรรูป โรงงานเครื่องหนัง โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานสร้างรถยนต์ และโรงงานสร้างเครื่องบิน 
            การอพยพย้ายถิ่นฐาน  เพื่อคลี่คลายความหนาแน่นของประชากรในบางแห่ง และเพื่อกระจายให้เกิดความสมดุลของประชากร รัฐบาลจึงได้มีการอพยพ ย้ายถิ่นฐานเช่น ย้ายผู้ที่ชอบทำการกสิกรรมให้ไปอยู่ในภูมิภาคที่มีคนอยู่น้อย รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในการย้ายถิ่นฐาน โดยจัดหาที่ดิน บ้าน รวมทั้งโรงเรียนระดับประถม และมัธยม การสาธารณสุขและสิ่งจำเป็นขั้นมูลฐานเช่น ถนน สหกรณ์ ศาลาประชาชน ศาสนสถาน และอุปกรณ์การเกษตร เป็นต้น 
            โดยที่เกาะชวาซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองหลวง มีประชากรหนาแน่น และส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูง มีฐานะดี เป็นคนมุสลิมที่ไม่เคร่งครัดมาก เนื่องจากพระพุทธศาสนาได้เข้ามารุ่งเรืองอยู่จนเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาอยู่ก่อน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๔๓ - ๗๔๓ นอกจากนี้เกาะชวายังเป็นศูนย์ทางวัฒนธรรม และโดยความเชื่อในปัจจุบัน ประมุขของรัฐหรือประธานาธิบดีต้องเป็นคนชวา รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะพยายามอพยพคนชวาไปอยู่ในติมอร์ตะวันออก (ก่อนแยกตัวเป็นอิสระ) สุมาตราเหนือ (เฉพาะที่อาเสรี) สุลาเวสีและกาลิมันตัน 
            จิตสำนึกของชนกลุ่มต่าง ๆ ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ  เนื่องจากอินโดนีเซียประกอบด้วย ชนหลายเผ่าพันธ์ และกระจัดกระจายอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ทั่วประเทศ ชนเหล่านี้มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ทำให้รัฐบาลต้องหาทางที่จะให้ชนเหล่านี้ มีจิตสำนึกในการเป็นคน เชื่อชาติเดียวกัน ด้วยวิธีการต่าง ๆ ให้ใช้ภาษาเดียวกันเป็นภาษากลางประจำชาติ (ภาษาฮาซา อินโดนีเซีย) สร้างคำขวัญโน้มน้าวจิตใจขึ้นเช่น ประเทศเดียว ชาติเดียว ภาษาเดียว ปลูกฝังหลักปัญจศีล ขนบธรรมเนียมโกตองเรยอง และบินเนกาตุงกาลอิกะ (สามัคคีในชนต่างเผ่า) ให้ประชาชนยึดมั่น 
            โดยทั่วไปแล้วชาวอินโดนีเซีย จะมีความสมัครสมานสามัคคีกันเป็นอันดี เพราะได้ต่อสู่เพื่อความเป็นเอกราชมาด้วยกัน และรู้ถึงความลำบากยากแค้น ในสมัยที่ตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตกมาเป็นอย่างดี สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวอินโดนีเซียมีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาตลอด 
            ในอดีตที่ชาวอินโดนีเซียเคยอยู่ภายใต้การปกครองของคนต่างชาติมาเป็นเวลาช้านาน ทำให้ชาวอินโดนีเซียรังเกียจชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรป ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงพยายามดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ ไม่ผูกพันกับประเทศใด พยายามสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพ เพื่อครองความเป็นใหญ่ ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 
ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มต่าง ๆ  อินโดนีเซียมีชาวจีนโพ้นทะเลอยู่มากกว่า ๓.๕ ล้านคน เป็นคนจีนที่ถือหนังสือเดินทางของประเทศจีนเกือบ ๑ ล้านคน ที่เหลือเป็นผู้ที่ได้รับสัญชาติอินโดนีเซียแล้ว ชาวจีนส่วนใหญ่เป็นผู้ควบคุมเศรษฐกิจที่สำคัญภายในประเทศ และบางกลุ่มยังให้การสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ใต้ดิน ในอินโดนีเซียด้วย ทำให้ชาวอินโดนีเซีย มีความรู้สึกรังเกียจชาวจีนตลอดมา และมักจะมีการปะทะกันระหว่างชนสองเชื้อชาตินี้อยู่เสมอ ระหว่างการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ มีชาวจีนถูกสังหารไปเป็นจำนวนมาก รัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ใช้มาตรการกำหนดเขตที่อยู่ และการเนรเทศชาวจีนที่มีพฤติการณ์ บ่อนทำลายอินโดนีเซีย ออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่สามารถลดอิทธิพลของชาวจีนลงได้ ต่อมารัฐบาลอินโดนีเซียได้ผ่อนปรนให้ชาวจีนที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โอนสัญชาติเป็นชาวอินโดนีเซียได้ 
ศาสนา





ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์  ถึงแม้ว่าอินโดนีเซียจะมีศาสนาหลายศาสนาด้วยกัน แต่เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งในทางศาสนาก็จะเกิดในชั่วระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซียได้แสดงถึงการสมยอมกันในระหว่างศาสนาต่าง ๆ มาตลอดเวลากว่าพันปี ทุกอย่างได้ดำเนินไปอย่างสงบสุข ความใจกว้างในเรื่องศาสนา เป็นวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซียมาเป็นเวลาช้านานแล้ว 
            รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย ให้สิทธิแก่ทุกคนที่จะนับถือศาสนาของตน ทุกคนมีเสรีภาพในทางศาสนา มีสิทธิที่จะเผยแพร่ศาสนาของตน เมื่อการกระทำนั้น ไม่เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย และความสงบของสังคมและชาติบ้านเมือง 
                ศาสนาสำคัญในอินโดนิเซีย  มีอยู่ห้าศาสนาหลัก ๆ ด้วยกันคือ 
                    ศาสนาอิสลาม  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๙๐ 
                    ศาสนาคริสต  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๓ เป็นผู้นับถือนิกายโปแตสแตนท์ มากกว่านิกายโรมันคาธอลิคสองเท่า ผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาธอลิค ส่วนใหญ่เป็นคนชวาภาคกลาง ชาวเกาะสุลาเวสี นุสาเตงการา และมาลูกู 
                    ศาสนาพุทธ  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๑ 
                    ศาสนาฮินดู  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๓ ส่วนใหญ่อยู่ในเกาะบาหลี 
                    ศาสนาขงจื้อ  มีผู้นับถือประมาณร้อยละ ๓ ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน 
                การสอนศาสนา  อินโดนิเซียมีมหาวิทยาลัยชั้นสูงหลายแห่ง ซึ่งมีทั้งมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาธอลิค และมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาอิสลาม 
                แม้ว่าอินโดนิเซีย จะมีประชากรที่นับถือศาสนาต่างกันมาก แต่ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางศาสนาที่รุนแรง แต่ก็ปรากฎว่ามีกลุ่มต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่ม ที่พยายามใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงาน เช่น ขบวนการคอมมานโดจีฮัด และขบวนการอาเจห์เสรี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะจัดตั้งรัฐบาลอิสลามขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวไม่สามารถขยายตัวได้มากนัก เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และถูกปราบปรามอย่างรุนแรงจากรัฐบาล 
                ในอินโดนีเซีย ผู้แทนคริสตศาสนานิกายโรมันคาาธอลิค และนิกายโปรเตสแตนท์ ได้ดำเนินงานอย่างเข้มแข็งในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งนอกจากดำเนินงานทางงศาสนาแล้ว ยังได้ทำงานในด้านสังคมและการศึกษา ได้สร้างสถาบันต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงเรียนและอื่น ๆ
                พลเมืองส่วนใหญ่ในเขตสุมาตราเหนือ (ตามูนูลี) ในซิลีบีสเหนือ (มินาฮาซา) ในนุสาเหงการา ในโบลูกัสและอิเรียนชยา ชาวเมืองได้หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ในอินโดนีเซียมีชาวคาธอลิคประมาณ ๑ ล้านคน และชาวโปรเตสแตนท์ประมาณ ๒ ล้านคน 
                สมาคมมุสลิมก็ได้ดำเนินงานอย่างเข็มแข็งเหมือนกัน งานดังกล่าวไม่เกี่ยวแต่เฉพาะศาสนาเท่านั้นแต่รวมถึงงานทุกด้านทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประชาชน 
                เกาะบาหลี  เป็นเกาะที่มีพลเมืองนับถือศาสนาฮินดู จะพบวัดเป็นจำนวนมาก ในชนบททุกแห่งจะมีวัดอย่างวน้อยสามวัด ซึ่งประชาชน จะพากันนำเครื่องสักการะไปบูชา เทพเจ้าเป็นประจำ ชาวบาหลีใช้ชีวิตอย่างชาวฮินดูมาช้านาน ปัจจุบันก็ยังมีมีสภาพอย่างเดิม ศาสนาพราหมณ์ฮินดูยังคงมีชีวิตอยู่ในบาหลี 
            ศาสนาที่เป็นที่นิยมของประชาชน  ชาวอินโดนีเซียประมาณ ร้อยละ ๘๘ นับถือศาสนาอิสลาม ทำให้อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีคนนับถือศาสนาอิสลาม มากที่สุดในโลก เนื่องจากอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันนดับต้น ๆ ของโลก 
            อิทธิพลของศาสนาต่อการดำเนินชีวิต  เนื่องจากอินโดนีเซียมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงมีแนวทางในการดำเนินชีวิต ตามแบบฉบับของศาสนาอิสลาม ดังนี้ 
                การครองเรือน  อุดมการณ์ของศาสนาอิสลามถือว่าผู้ชายเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้เลือกถิ่นที่อยู่ เป็นผู้รับผิดชอบต่อความทุกข์สุขของครอบครัว และเป็นผู้สืบสกุล ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงห้ามขาดไม่ให้หญิงมุสลิมเป็นภรรยาของผู้ที่มีความเชื่อถือต่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนให้ถือว่าได้ลาออก หรือถูกไล่ออกจากสังคมอิสลามแล้ว สมาชิกของสังคมอิสลาม มีสิทธิที่จะทำการประชาทัณฑ์ด้วยการเลิกคบหาสมาคมด้วย แต่ถ้าฝ่ายชายได้เปลี่ยนอุดมการณ์ ความเชื่อถือเดิมมาเป็นอย่างเดียว กับฝ่ายหญิงแล้วด้วยความสมัครใจก่อนการสมรสกัน หญิงมุสลิมก็ทำการสมสรสด้วยได้ ผู้นับถือศาสนาอิสลามมีความยึดมั่นในข้อห้ามอย่างแน่วแน่ จนต้องนำเอาหลักจารีตประเพณี มาบังคับเป็นกฎหมาย เพื่อกำหนดสถานภาพของครอบครัว อันเป็นการจำกัดสิทธิของสตรี จนมีการดิ้นรนเรียกร้องสิทธิเพิ่มขึ้น ทางสภาผู้แทนราษฎร 
                การกำหนดสถานภาพทางครอบครัวของอินโดนีเซีย ตามกฎหมาย จารีตประเพณี มีดังนี้ 
                ชายเป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายตั้งแต่บรรพบุรุษ สตรีถ้าสมรสแล้วต้องออกจากตระกูลของตนเองมาเป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี บุตรที่เกิด            เป็นสมาชิกในครอบครัวของสามี 
                มารดาเป็นหัวหน้าครอบครัวสืบเชื้อสายทางฝ่ายหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน บุตรที่เกิดจากสมาชิกในครอบครัวของมารดา 
                บิดามารดา เป็นหัวหน้าครอบครัว สืบเชื้อสายทางฝ่ายชายและหญิง สามีและภรรยายังอยู่ในครอบครัวเดิมของตน ส่วนบุตรที่เกิดคงเป็นสมาชิกในครอบครัวฝ่ายบิดาและมารดา 
                ตามปกติในชุมชนบางแห่ง การลำดับญาตินี้ทำให้ทางฝ่ายชายมีอำนาจเหนือฝ่ายหญิง หรือหญิงมีฐานะด้อยกว่าชาย ทางฝ่ายหญิงแม้จะมีหลักฐานเหนือกว่า ก็ไม่มีอำนาจเหนือกว่าชายทุกอย่าง ส่วนทางบิดา และมารดานั้น ฐานะของหญิงเท่าเทียมชายในกฎหมายจารีตประเพณี 
                การสมรสของชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ถือปฏิบัติตามประเพณี และบทบัญญัติของกฎหมายโมฮัมหมัด การหย่าร้างตามกฎหมายโมฮัมหมัด ให้สิทธิสามีเป็นผู้บอกเลิก แม้การบอกเลิกจะได้กระทำไปโดยไม่มีเหตุผล 
                การอุปโภคและบริโภค  อิสลามแนะนำให้อยู่ดีกินดี บริโภคอาหารที่มีคุณแก่ร่างกาย และสะอาดกับจิตใจ และอุปโภคเครื่องนุ่งห่มที่ประกอบจากวัสดุที่สะอาด และรักษาให้สะอาด เตรียมพร้อมที่จะนมัสการต่อพระเจ้าอยู่เสมอ 
                ตามคัมภีร์กุรอาน อิสลาม ได้เว้นการบริโภคซากสัตว์ สัตว์ที่ตายเอง เนื้อสุกร และสัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือด หรือถูกประหารโดยการขออนุญาตจากผู้ที่มิใช่อัลลอห์ นอกจากนี้ยังมีสัตวซ์พาวหนะและสัตว์เลี้ยงเช่น ลา แมว สุนัข สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ประเภทนกที่ใช้เท้าเป็นสื่อส่งอาหารใส่ปากเช่น แร้ง เหยี่ยว กา และสัตวว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์ด้วยยกันเช่น เสือ สิงโต 
                การที่ห้ามบริโภคเนื้อสัตวว์ที่ถูกฆ่า โดยผู้ที่ไม่ใช่เป็นอิสลามนั้นเนื่องมาจากสิทธิของพระเจ้า เพราะอิสลามถือว่าพระเจ้าเป็นเจ้าชีวิต แม้สัตว์ที่ยอมให้เป็นอาหารของมนุษย์แล้วก็ตาม แต่มนุษย์จะบริโภคได้ก็แต่เลือดเนื้อของสัตว์เท่านั้น ส่วนชีวิตเป็นของพระเจ้า เมื่อจะเชือด หรือประหารชีวิต เพื่อนำมาเป็นอาหารจะต้องขอนุญาตจากพระเจ้าเสียก่อน นอกจากปลาและสัตวว์น้ำ ซึ่งโดยกฎของบสวภาวะของพระเจ้า เมื่อขึ้นมาอยู่บนบกมันจะตายเองด้วยดินฟ้าอกาศ ซึ่งเป็นเครื่องมือของพระเจ้า 
                พิธีศพ  อุดมการณ์ของอิสลามถือว่า การให้เกียรติแก่ศพ ไม่ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ จะถือศาสนาอะไร เป็นมารยาทอันสูงส่งที่มุสลิมทุกคนบจะถือปฏิบัติตาม การทำลายศพเป็นข้อห้ามอย่างเด็ดขาด โดยที่อุดมการณ์ของอิสลามถือว่ามนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายถูกสร้างโดยพระเจ้า ร่างกายของมนุษย์จึงยตกเป็นสิทธิของพระเจ้า เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็ต้องส่งยคืนไปในสวภาพเดิมและไปสู่ที่เดิม 
                การถือศีลอด  การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนปีละหนึ่งเดือนคือ การอดอาหาร และเครื่องดื่ม ตลอดจนการบริโภคใด ๆ ทั้งสิ้น ระหว่างเวลาก่อนรุ่งอรุณ จนตะวันตกดิน เพื่ออบรมให้มีความอดทนต่อความหิวกระหาย เพื่อใให้รู้ซึ้งถึงอาการของความหิวกระหายว่าเป็นประการใด เพื่อมนุษย์ที่เกิดความหิวกระหาย เพราะอัตคัดขัดสน ควรจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไรและเพียงใด 
                การบำเพ็ญฮัจยี  การไปร่วมกันประกอบพิธีฮัจยีในเมืองเมกกะห์หนึ่งครั้งในชีวิตนั้น ถือปฏิบัติสำหรับผู้มีกำลังทรัพย์และกำลังกายเท่านั้น เพื่อประโยชนน์ในการอบรมจิตใจ ให้นิยมความเสมอภาค เพราะในพิธีนี้ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์หรือคนธรรมดาสามัญที่รวมอยู่ในพิธีจะต้องแต่งกาย และกระทำพิธีอย่างเดียวกันหมด














            ปูชนียสถาน  ปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาได้แก่ โบโร บูเดอร์ (borobudur) อยู่ในยอร์คจาการ์ตา สร้างเมื่อปี พ.ศ.๘๐๐ ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในเกาะบาหลี และมัสยิดอัล อาซาร์ของศานาอิสลาม ที่สร้างขึ้นภายหลังศาสนสวถานของพระพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ฮินดู 
            ความเชื่อของคนอินโดนีเซีย  คนอินโดนีเซียเชื่อเรื่องวิญญาณ พระเจ้า บรรพบุรุษ ภูติผีปีศาจ ดวงดาว ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพบมากในเกาะบาหลีและเกาะต่าง ๆ ที่ควารมเจริญสมัยใหม่ยังเข้าไปไม่ถึง
การเมืองและการปกครอง 
            เขตแดนที่เป็นประเทศอินโดนีเซีย ปัจจุบันเป็นอาณาเขตที่กำหนดไว้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ ก่อนหน้านั้น เขตแดนของอินโดนีเซียแตกต่างออกไปจากที่เป็นอยู่ปัจจุบัน 
            ก่อนสงครามมหาเอเซียบูรพา อินโดนีเซียเป็นที่รู้จักกันในนามของหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ ประมาณ ๑๓,๖๗๗ เกาะ เกาะที่สำคัญคือ เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะสุลาเวสี หรือเกาะเซเลเบส บางส่วนของเกาะกาลิมันตันหรือเกาะบอร์เนียว และบางส่วนของเกาะอีเรียนชยา ชาวดัทช์เริ่มเข้ามามสีอาณานิคม เหนือหมู่เกาะดังกล่าว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๑๔๕ และตั้งแต่นั้นมาอินโดนีเซียก็ตกอยู่ในการปกครองของเนเธอร์แลนด์ เป็นระยะเวลาประมาณสามศตววรรษครึ่ง จนนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๕ ระหว่างสงครามมหาเอเซียบูรพา ญยี่ปุ่นได้เข้ามายึกครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออก 
            หลังสงครามมหาเอเซียบูรพาสงบลง เนเธอร์แลด์ได้ส่งกำลังกลับเข้ามาในอินโดนีเซียวอีก โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอังกฤษ ซึ่งเข้าครอบครองอินโดนีเซีย หลังจากขับไล่ญี่ปุ่นออกไป 
            อินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชพร้อมกับประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ และประกาศหลักปัญจศีล ดร.ซูการ์โน ได้รับการเลือกเป็นประธานาธิบดี ได้มีการต่อสู้เพื่อเอกราชแลกด้วยเลือดเนื้อ และชีวิตของชาวอินโดนีเซียนับแสนคน ในที่สุดอินโดนีเซียก็ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ 
            รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.๒๔๘๘ กำหนดใให้อินโดนีเซียมีการปกครองในรูปรัฐเดียว มีระบบการปกครองเป็นแบบรวมทั้งประเทศ (United Structure) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้ารัฐบาล
            เมื่อดัทช์โอนอำนาจอธิปไตยใให้อินโดพนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ อินโดนีเซียก็มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ๒ กำหนดให้อินโดนีเซีย มีการปกครองแบบสหพันธสาธารณรัฐ (Federation) เรียกชื่อประเทศว่า สหรัฐอินโดนีเซีย (United State of Indonesia) ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๓ อินโดนีเซียก็นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่สาม มาใช้ปกครองประเทศ กำหนดให้อินโดนีเซียกลับมีระบบการปกครองแบบรวมทั้งประเทศเหมือนรัฐธรรมนูญฉ บับแรก ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.๒๔๘๘ มาใช้ใหม่ 
            หลักปัญจศีล (Panja Sila)  ปรัชญาที่สำคัญมากของอินโดนีเซียคือ หลักปัญจศีลของ ดร.ซูการ์โน เป็นหลักที่มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งของอินโดนีเซีย ตลลอดระยะเวลาตั้งแต่อินโดนีเซียได้รับเอกราชเป็นต้นมา มีความเปว็นมาคือ ในปี พ.ศ.๒๔๘๘ มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการใให้อินโดนีเซียได้รับเอกราช ญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายยึดครองอินโดนีเซียอยู่ในขณะนั้น ให้การอุปการะในการประชุมครั้งนี้ ดร.ซูการ์โน เป็นผู้แสวงหาหลักการขั้นพื้นฐาน สำหรับนำมาประสานความสามัคคี ระหว่างปรัชญาของกลุ่มอิสลาม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการที่จะเห็นประเทศอินโดนีเซียใหม่ หลังจากได้รับเอกราชแล้วเป็นประเทศที่ปกครองโดยผู้นำทางศาสนาอิสลาม กับกลุ่มพลเรือนคณะชาตินิยม ซึ่งเปว็นกลุ่มที่มีปรัชญยาแนวทางสังคมนิยม 
            เพื่อเป็นรากฐานประสานความสามัคคีทั้งทางสังคมและการเมืองวระหว่างคนสองกลุ่มดังกล่าว ซูการ์โน จึงวางหลักปัญจศีลให้เป็นปรัชญาของประเทศคือ อินโดนีเซียจะยึดมั่นอยู่ในเรื่องชาตินิยม สากลนิยม รัฐบาลโดยประชาชน ความยุติธรรมในสังคม และความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว 
            หลักปัญจศีลของซูการ์โน ได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งจากกลุ่มชาตินิยม ส่วนกลุ่มอิสลามต้อนรับอย่างไม่เต็มใจนัก 
    รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย 
            คำปรารถ 
                โดยเหตุที่ความเป็นเอกราชย่อมเป็นสิทธิของทุกชาติ การตกอยู่ภายใต้อาณัติของชาติอื่นจึงเป็นการขัดต่อหลักมนุษยธรรม และความยุติธรรม และเป็นสิ่งที่ควรจะขจัดให้หมดสิ้นไป 
                การต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประเทศอินโดเนเซียที่มีเอกราช ได้บรรลุถึงขั้นตอนแห่งความสำเร็จ และขณะนี้ประชาชนชาวอินโดเนเซีย ได้ก้าวไปสู่การมีรัฐอินโดเนเซีย ซึ่งประกอบด้วยความเป็นเอกราช เอกภาพ อธิปไตย นิติธรรม และความเจริญรุ่งเรือง 
                ด้วยพระพรของพระผู้เป็นเจ้า และด้วยแรงดลใจแห่งอุดมคติอันสูงส่ง เพื่อชีวิตแห่งชาติเสรี ประชาชนชาวอินโดเนเซียจึงได้ประกาศเอกราช ณ บัดนี้ 
                การตั้งรัฐบาลแห่งชาติอินโดเนเซียก็เพื่อทำนุบำรุงประชาชนและอาณาเขตดินแดนเพื่อส่งเสริมสาธารณประโยชน์ เพื่อยกมาตรฐานการครองชีพ และเพื่อเข้ามีส่วนร่วมในการสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นในโลก ทั้งนี้ โดยมีรากฐานอยู่บนความเป็นเอกราช สันติสุขถาวร และความเป็นธรรมในสังคม  ความเป็นเอกราชของชาติเรา ได้มีระบุในรัฐธรรมนูญแห่งรัฐอินโดเนเซีย ซึ่งเป็นที่ได้ตั้งขึ้นในรูปของสาธารณรัฐ โดยมีอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน  เราเชื่อมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง เชื่อในควมยุติธรรมและศีลธรรมของมนุษยชาติ และในความเป็นเอกภาพของอินโดเนเซีย  เราเชื่อในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาศัยความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับประชาชน โดยมีการให้คำแนะนำปรึกษาเป็นแกนนำ เพื่อที่จะบรรลุถึงความเป็นธรรมในสังคมสำหรับ
ปวงชนชาวอินโดเนเซีย 
                หมวด ๑  ระบอบการปกครองและอำนาจอธิปไตยของรัฐ 
                    มาตรา ๑ 
                        - อนุมาตรา ๑  รัฐอินโดเนเซียเป็นอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ 
                        - อนุมาตรา ๒  อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน และประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจนี้โดยทางสภาประชาชน (Madjelis Permusjawaratan Rakjat) 
                หมวด ๒  สภาประชาชน 
                    มาตรา ๒ 
                        - อนุมาตรา ๑  สภาประชาชนประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผู้แทนของเขตภูมิภาค และกลุ่มอื่น ๆ ตามที่กำหนดในบทบัญญัติของกฎหมาย 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้สภาประชาชนประชุมกันในเมืองหลวงอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุก ๆ ๕ ปี  มติของสภาประชาชนให้ตัดสินโดยคะแนนเสียงข้างมาก 
                    มาตรา ๓ 
                        ให้สภาประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ และกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้กว้าง ๆ 
                หมวด ๓  อำนาจบริหาร 
                    มาตรา ๔ 
                        - อนุมาตรา ๑  อำนาจบริหารเป็นของประธานาธิบดีตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้มีรองประธานาธิบดีคนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนในการปฏิบัติหน้าที่ 
                    มาตรา ๕
                        - อนุมาตรา ๑  ให้ประธานาธิบดีโดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจนิติบัญญัติ 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้ประธานาธิบดีออกกฤษฎีกาประกาศใช้กฎหมายทั้งหลาย 
                    มาตรา ๖ 
                        - อนุมาตรา ๑  ผู้เป็นประธานาธิบดีจะต้องเป็นพลเมืองอินโดเนเซียซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองโดยกำเนิด 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้สภาประชาชนเป็นผู้เลือกประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีโดยคะแนนเสียงข้างมาก 
                    มาตรา ๗ 
                        ให้ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา ๕ ปี แต่เมื่อครบกำหนดนี้แล้วมีสิทธิได้รับเลือกใหม่ได้ 
                    มาตรา ๘ 
                        ในกรณีที่ประธานาธิบดีถึงแก่กรรม ถูกถอดถอน หรือหมดความสามารถที่จะทำหน้าที่ได้ ให้รองประธานาธิบดีเข้ารับตำแหน่งแทน จนครบวาระของประธานาธิบดีคนก่อน 
                    มาตรา ๙ 
                        ก่อนเริ่มเข้ารับหน้าที่ ให้ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี กล่าวถ้อยคำอย่างเป็นทางการต่อสภาประชาชนหรือสภาผู้แทนราษฎร ดังนี้
คำสาบานของประธานาธิบดี (รองประธานาธิบดี)
                    "ข้าพเจ้าขอสาบานต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย (รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย) อย่างซื่อสัตย์สุจริต และสุขุมรอบคอบ เพื่อธำรงรักษารัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทุกประการ และข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อรับใช้ประเทศชาติ"
คำปฏิญาณของประธานาธิบดี (รองประธานาธิบดี)
                    "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย (รองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดเนเซีย) อย่างซื่อสัตย์สุจริตและสุขุมรอบคอบ เพื่อธำรงรักษารัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ทุกประการ และข้าพเจ้าจะอุทิศตนเพื่อรับใช้ประเทศชาติ" 
                    มาตรา ๑๐ 
                        ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ 
                    มาตรา ๑๑ 
                        ให้ประธานาธิบดี โดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ประกาศสงครามสร้างสันติภาพ และทำสนธิสัญญากับประเทศต่าง ๆ 
                    มาตรา ๑๒ 
                        ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ในระหว่างเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน ให้กำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่า จะให้ใช้บังคับกฎอัยกาศึก ภายใต้เงื่อนไขอย่างใด และจะให้มีการดำเนินการอย่างไรหลังจากที่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้ว 
                    มาตรา ๑๓ 
                        - อนุมาตรา ๑  ให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต ทูต และกงสุล 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้ประธานาธิบดีเป็นผุ้รับการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ทูต และกงสุล ของประเทศอื่น ๆ 
                    มาตรา ๑๔ 
                        ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้อภัยโทษ นิรโทษกรรม ให้เลิกการพิจารณาคดีอาญา และให้สิทธิบุคคลกลับคืนเป็นดังเดิม 
                    มาตรา ๑๕ 
                        ให้ประนธานาธิบดีมีอำนาจให้ยศ ตำแหน่ง อิสริยาภรณ์ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างอื่น 
                หมวด ๔ สภาที่ปรึกษาสูงงสุด 
                    มาตรา ๑๖ 
                        - อนุมาตรา ๑  ให้กฎหมายกำหนดองค์ประกอบของสภาที่ปรึกษาสูงสุด 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้สภาที่ปรึกษาสูงสุดมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ประธานาธิบดีในเรื่องต่าง ๆ ที่ประธานาธิบดี ได้ขอคำแนะนำปรึกษามา และให้มีสิทธิที่จะยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาล 
                หมวด ๕ กระทรวง 
                    มาตรา ๑๗ 
                        - อนุมาตรา ๑  ให้รัฐมนตรีทั้งหลายเป็นผู้ช่วยเหลือประธานาธิบดี 
                        - อนุมาตรา ๒  ประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนรัฐมนตรีจากหน้าที่ 
                        - อนุมาตรา ๓  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในหน่วยราชการที่ตนได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ 
                หมวด ๖ การปกครองท้องถิ่น 
                    มาตรา ๑๘ 
                        การแบ่งเขตดินแดนของประเทศอินโดเนเซีย เป็นหน่วยปกครองตลอดจนการวางรูปแบบของการปกครองท้องถิ่น ให้กระทำโดยกฎหมายโดยให้สอดคล้องกับหลักการที่ให้มีการปรึกษาหารือ และมีสิทธิตามจารีตประเพณีของเขตดินแดนแต่ละท้องถิ่น 
                หมวด ๗ สภาผู้แทนราษฎร 
                    มาตรา ๑๙ 
                        - อนุมาตรา ๑  การจัดองค์งานของสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามที่กำหนดในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้สภาผู้แทนราษฎรประชุมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 
                    มาตรา ๒๐ 
                        - อนุมาตรา ๑  ให้กฎหมายทุกชนิดออกได้โดยความยินยอมเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร 
                        - อนุมาตรา ๒  ถ้าร่างกฎหมายใดสภาผู้แทนราษฎรไม่ยอมให้ผ่าน ร่างกฎหมายนั้นจะยื่นเสนอใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง ในระหว่างวาระประชุมเดียวกัน ของสภาผู้แทนราษฎรมิได้ 
                    มาตรา ๒๑ 
                        - อนุมาตรา ๑  สมาชิกสภผู้แทนราษฎรย่อมมีสิทธิที่จะเสนอร่างกฎหมายได้ 
                        - อนุมาตรา ๒  ภาษีทุกรูปแบบให้กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                        ถ้าประธานาธิบดีไม่ยอมให้ผ่านร่างกฎหมายเกี่ยวกับภาษีใด ร่างกฎหมายนั้นจะยื่นเสนอใหม่อีกเป็นครั้งที่สอง ในระหว่างวาระประชุมเดียวกัน ของสภาผู้แทนราษฎรมิได้ 
                    มาตรา ๒๒ 
                        - อนุมาตรา ๑  ในระหว่างเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน ให้ประธานาธิบดีมีอำนาจออกกฤษฎีกา ซึ่งบังคับใช้แทนกฎหมาย 
                        - อนุมาตรา ๒  กฤษฏีกาทั้งหลายซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ออกจะต้องมีการให้สัตยาบัน โดยสภาผู้แทนราษฎรในระหว่างวาระประชุมต่อไป 
                        - อนุมาตรา ๓  ถ้าปรากฎว่ามิได้มีการให้สัตยาบันดังกล่าว ให้กฤษฎีกานั้นเป็นอันยกเลิกไป 
                หมวด ๘ การเงินการคลัง 
                    มาตรา ๒๓ 
                        - อนุมาตรา ๑  งบประมาณรายรับและรายจ่ายของทุกปี ได้กำหนดโดยบัญญัติของกฎหมาย ถ้าในปีใดสภาผู้แทนราษฎร มิได้รับรองเห็นชอบ กับงบประมาณที่รัฐบาลเสนอ ก็ให้ใช้งบประมาณของปีก่อนหน้านั้น 
                        - อนุมาตรา ๒  ภาษีทุกรูปแบบให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                        - อนุมาตรา ๓  ชนิดราคาและค่าของเงินตรา ให้กำหนดโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                        - อนุมาตรา ๔  เรื่องอื่นใดอันเกี่ยวกับการคลัง ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                        - อนุมาตรา ๕  ให้มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีหน้าที่ตรวจสอบ สอบบัญชี และประนอมหนี้ทั้งหลาย อันเกี่ยวกับการเงินการคลัง และผลของการสอบบัญชีดังกล่าว ให้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร 
                หมวด ๙ อำนาจตุลาการ 
                    มาตรา ๒๔ 
                        - อนุมาตรา ๑  อำนาจตุลาการให้เป็นของศาลสูงสุด และศาลชั้นล่างตามที่กฎหมายได้จัดตั้ง 
                        - อนุมาตรา ๒  การจัดองค์งาน และอำนาจของศาลที่กล่าวนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 
                    มาตรา ๒๕ 
                        คุณสมบัติของการเป็นผู้พิพากษา และเงื่อนไขในการปลดจากหน้าที่  ให้กำหนดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย 
                หมวด ๑๐ ความเป็นพลเมือง 
                    มาตรา ๒๖ 
                        - อนุมาตรา ๑  พลเมือง ได้แก่ ชาวอินโนเซียโดยกำหนด รวมตลอดทั้งบุคคลที่มีใบสำคัญการแปลงชาติแล้ว 
                        - อนุมาตรา ๒  บรรดาเรื่องทั้งหลายที่มีผลกระทบกระทั่งถึงความเป็นพลเมือง  ให้กำหนดโดยบทบัญญัติของกฎหมาย 
                    มาตรา ๒๗ 
                        - อนุมาตรา ๑  พลเมืองทุกคนย่อมมีสถานะทางกฎหมาย และทางปกครองเสมอกัน และจะต้องเคารพต่อกฎหมาย และการปกครองโดยไม่มีข้อยกเว้น 
                        - อนุมาตรา ๒  พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิในการทำงาน และมีสิทธิที่จะมุ่งหวังในมาตราฐานการครองชีพที่เหมาะสม 
                    มาตรา ๒๘ 
                        เสรีภาพในการชุมนุมกัน และสิทธิที่จะก่อตั้งเป็นองค์กร เสรีภาพในการพูด เสรีภาพของหนังสือพิมพ์ ตลอดจนเสรีภาพอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                หมวด ๑๑ ศาสนา 
                    มาตรา ๒๙ 
                        - อนุมาตรา ๑  รัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นในองค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด แต่พระองค์เดียว 
                        - อนุมาตรา ๒  รัฐให้หลักประกันเสรีภาพของประชาชนในการนับถือ และแสดงออกซึ่งความเชื่อในศาสนาของตน 
                หมวด ๑๒ การป้องกันประเทศ 
                    มาตรา ๓๐ 
                        - อนุมาตรา ๑  พลเมืองทุกคนอาจถูกเกณฑ์ให้เข้าร่วมในการป้องกันประเทศ 
                        - อนุมาตรา ๒  บรรดาเรื่องทั้งหลายที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ ให้กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                หมวด ๑๓ การศึกษา 
                    มาตรา ๓๑ 
                        - อนุมาตรา ๑  พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิที่จะได้การศึกษา 
                        - อนุมาตรา ๒  ให้รัฐบาลก่อตั้งและดำเนินการ ซึ่งระบบการศึกษาของชาติ ตามที่กำหนดโดยบัญญัติแห่งกฎหมาย 
                    มาตรา ๓๒ 
                        ให้รัฐบาลปรับปรุงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติอินโดเนิซีย 
                หมวด ๑๔ ประโยชน์สุขของสังคม 
                    มาตรา ๓๓ 
                        - อนุมาตรา ๑  ให้จัดระบบเศรษฐกิจในแบบสหกรณ์ 
                        - อนุมาตรา ๒  การผลิตแขนงที่สำคัญต่อรัฐ และซึ่งกระทบกระเทือนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ 
                        - อนุมาตรา ๓  ผืนดินและท้องน้ำ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในผืนดินและท้องน้ำ ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ และจะนำมาใช้ เพื่อประโยชน์สุขอันสูงสุดของประชาชน 
                    มาตรา ๓๔ 
                        ให้รัฐคุ้มครองดูแลแก่เยาวชนผู้ยากไร้ และขาดผู้ดูแล 
                หมวด ๑๕ ธงชาติและภาษา 
                    มาตรา ๓๕ 
                        ธงชาติของสาธารณรัฐอินโดเนเซีย ให้เป็นธงสีแดงและสีขาว 
                    มาตรา ๓๖ 
                        ภาษาราชการให้ใช้ภาษาอินโดเนเซีย 
                หมวด ๑๖ การแก้ไขเปลี่ยนแปลง 
                    มาตรา ๓๗ 
                        - อนุมาตรา ๑  สมาชิก ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดของสภาประชาชน จะต้องอยู่ในที่ประชุม ในระหว่างที่มีการประชุม ปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ 
                        - อนุมาตรา ๒  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ จะทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสมาชิกอย่างน้อย ๒ ใน ๓ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ที่อยู่ในที่ประชุม 
                บทเฉพาะกาล 
                    มาตรา ๓๘ 
                        - อนุมาตรา ๑  ให้คณะกรรมการเตรียมการ เพื่อความเป็นเอกราชของอินโดเนเซีย กำหหนดจะเตรียมการสำหรับระยะเวลา และการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาลอินโดเนเซีย 
                        - อนุมาตรา ๒  สถาบันทางราชการ และกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมดให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญนี้ 
                        - อนุมาตรา ๓  ในขั้นแรกนี้ให้คณะกรรมการเตรียมการเพื่อความเป็นเอกราชของอินโดเนเซีย เป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี 
                        - อนุมาตรา ๔  ก่อนถึงระยะเวลาเลือกตั้งของสภาประชาชน สภาผู้แทนราษฎร และสภาที่ปรึกษาสูงสุดตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ประธานาธิบดีด้วยความช่วยเหลือ ร่วมมือจากคณะกรรมการแห่งชาติ เป็นผู้ใช้อำนาจของสภาที่กล่าวข้างต้น 
                บทบัญญัติเพิ่มเติม 
                        ๑. ภายใน ๖  เดือนจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ให้ประธานาธิบดีแห่งอินโดเนเซียกำหนด และเตรียมการทุกอย่างที่ระบุในรัฐธรรมนูญ 
                        ๒. ภายใน ๖  เดือน หลังจากเลือกตั้งสภาประชาชน ให้สภาประชาชนประชุมกันเพื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 
            ความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ  ได้แก่ ประเทศกลุ่มมหาอำนาจ กลุ่มประเทศอินโดนีเซีย และกับประเทศไทย 
                สหรัฐอเมริกา  นับตั้งแต่ประธานิธิบดี ซูการ์โน ขึ้นดำรงตำแหน่ง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ สหรัฐอเมริกาได้กลับมามีบทบาทสำคัญ ในการให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียอีก เพื่อไม่ให้คอมมิวนิสต์กลับมามีอิทธิพลในอินโดนีเซียอีก 
                ประเทศจีน  อินโดนีเซียประกาศระงับความสัมพันธ์กับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ เนื่องจากจีนให้การสนับสนุนแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ในการก่อกบฏ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ อยู่ในภาวะเสื่อมโทรมตลอดมานับแต่นั้น ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๕ อินโดนีเซียได้ออกคำแถลงว่าสิ่งสำคัญที่สุด ในการกลับไปมีความสัมพันธ์ขั้นปกติระหว่างกันคือ จีนจะต้องยอมรับว่าอินโดนีเซีย มีรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงรัฐบาลเดียว และจีนต้องระงับความช่วยเหลือ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียโดยสิ้นเชิง ซึ่งในเวลาต่อมาจีนได้สนองตอบต่อท่าทีของอินโดนีเซีย 
                ในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๒๐ ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับจีน มีท่าทีกระเตื้องขึ้น จนถึงขั้นเตรียมการที่จะสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน แต่จากคำแถลงของนายเติ้งเสี่ยวผิง รองนายกรัฐมนตรีของจีน ระหว่างการเยือนมาเลเซียว่า จีนจะไม่เลิกสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ทำให้วงการต่าง ๆ คัดค้านการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับจีน 
                ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ แนวโน้มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดีขึ้นมาก อินโดนีเซียมีการติดต่อการค้ากับจีนโดยผ่านสิงคโปร์ และฮ่องกง 
                ประเทศรัสเซีย จากการกวาดล้างคอมมิวนิสต์ครั้งใหญ่ในอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ ทำให้สัมพันธภาพระหว่างสหภาพโซเวียตรัสเซีย กับอินโดนีเซีย เสื่อมโทรมลงมาก สหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ท่าทีของอินโดนีเซียด้วยการงดความช่วยเหลือ ยุติการให้หรือการขายอุปกรณ์ และอะไหล่ยุทโธปกรณ์ทางการทหาร หยุดการดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังน้ำ 
                ในระยะต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๑๗ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองกระเตื้องขึ้นมาก อินโดนีเซียได้เปรียบดุลการค้า กับสหภาพโซเวียตประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา 
                ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ อินโดนีเซียได้ขับนักการทูต และเจ้าหน้าที่สายการบินโซเวียตออกนอกประเทศ ในข้อหาปฏิบัติการจารกรรมในดินแดนอินโดนีเซีย ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ อยู่ในภาวะที่เย็นชา แต่กลับดีขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ เมื่ออินโดนีเซียได้ตกลงที่จะเปิดเมืองท่าสี่แห่ง ให้เรือสินค้าของสหภาพโซเวียต เข้าขนถ่ายสินค้าได้ 
                ประเทศญี่ปุ่น  ญี่ปุ่นเป็นประเทศในกลุ่มประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียระหว่างปี พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๒๐ ชาวญี่ปุ่น ได้เข้าไปลงทุนในอินโดนีเซียมาก เป็นอันดับหนึ่ง โดยมีเงินลงทุนถึงประมาณ ๒,๐๐๐ ล้านเหรียญอเมริกา 
                ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้มีการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งผ่านเทคโนโลยีจากชาวญี่ปุ่น ไปสู่คนพื้นเมืองชาวอินโดนีเซีย 
                ในปี พ.ศ ๒๕๒๗ ได้มีการแถลงภายหลังการหารือกับญี่ปุ่นในประเด็นของปัญหากัมพูชาที่เกี่ยวกับเวียดนาม และทางอินโดนีเซีย ได้เสนอแผนฟื้นฟูสันติภาพในกัมพูชา 
                ประเทศในตะวันออกกลาง  มีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับอินโดนีเซียตลอดมา เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม 
                ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ อินโดนีเซียได้รับความช่วยเหลือจากประเทศซาอุดิอาระเบียและประเทศอิหร่านในการพัฒนาโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรีย 
                ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้เดินทางไปเยือนกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเจ็ดประเทศ หลายประเทศได้แสดงความจำนง ที่จะให้ความช่วยเหลืออินโดนีเซีย ในโครงการต่าง ๆ และประธานาธิบดีซูฮาร์โต ก็ได้แถลงสนับสนุนการต่อสู้ของชาวปาเลสไตน์ 
               ประเทศในกลุ่มอินโดจีน  ได้แก่  เวียดนาม ลาวและกัมพูชา 
                    ประเทศเวียดนาม  อินโดนีเซียได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเวียดนามเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗  แต่ความสัมพันธ์ ได้เสื่อมทรามลงในปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยเฉพาะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะในอินโดจีน 
                    ในปี พ.ศ.๒๕๑๙ สัมพันธภาพระหว่างสองประเทศเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ 
                    ในปี พ.ศ.๒๕๒๐ ทั้งสองประเทศ ได้เจรจากันในปัญหาติมอร์ตะวันออก ปัญหาการรับรองอาเซียน และเขตสันติภาพ ปัญหาไหล่ทวีป ซึ่งทั้งสองประเทศ มีข้อขัดแย้งกันบางประการเกี่ยวกับการกำหนดเขตไหล่ทวีปบริเวณตอนเหนือหมู่เกาะนาตูนา ในทะเลจีนใต้ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้มีการประชุมแก้ไขปัญหา ไหล่ทวีประหว่างสองประเทศครั้งที่ ๗ การประชุมไม่ประสบผลสำเร็จ 
                    ประเทศลาว  ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับลาวยังอยู่ในลักษณะที่ห่างเหินกัน แต่ก็มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน 
                    ประเทศกัมพูชา  อินโดนีเซียกับกัมพูชาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๑  ก่อนหน้านั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ อินโดนีเซียได้เคยแถลงให้การรับรองรัฐบาลกัมพูชา หลังจากที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้ายึดครองกัมพูชาได้ แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลกัมพูชา ทั้งนี้เพราะกัมพูชาเคยแถลงต่อต้านอินโดนีเซีย ในการที่ใช้กำลังเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออก 
                    อินโดนีเซียตระหนักถึงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งเกิดจากการสนับสนุนของจีนเป็นหลัก ส่วนภัยจากเวียดนามถือเป็นรอง การมองภัยคุกคามของภูมิภาค ที่แตกต่างจากประเทศอาเซียนอื่น มีสาเหตุมาจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซีย ที่เป็นเกาะอยู่ห่างจากแผ่นดินใหญ่ ประกอบกับประสบการณ์ที่ขมขื่น จากการก่อกบฏคอมมิวนิสต์ในประเทศซึ่งจีนให้การสนับสนุน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘  ด้วยเหตุนี้อินโดนีเซียจึงมีการติดต่อกับเวียดนามใกล้ชิดมากกว่าประเทศอาเซียนอื่น 
                ประเทศเพื่อนบ้าน  ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ 
                    ประเทศมาเลเซีย  อินโดนีเซียได้ประกาศใช้นโยบายเผชิญหน้ากับมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖  เมื่อมาเลเซียประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูต กับอินโดนีเซียเนื่องจากอินโดนีเซียไม่ยอมรับรองการสถาปนาประเทศมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๖  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ประเทศทั้งสองได้กลับคืนดีกัน  หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านก็ดีขึ้นด้วย 
                    ต่อมาอินโดนีเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมอาเซียนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วยประเทศสมาชิกคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จากการก่อตั้งสมาคมอาเซียนดังกล่าว เป็นเหตุให้อินโดนีเซีย เร่งรัดสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซีย และสิงคโปร์ขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ 
                    ความร่วมมือกับมาเลเซียได้แก่ การประมง การค้า อุตสาหกรรมดีบุก และยาง สำหรับด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ทั้งสองประเทศได้ตกลง ให้มีการใช้ตัวสะกดในภาษาอินโดนิเซีย และมาเลเซีย ให้เหมือนกันได้ทำความตกลงอาณาเขตทางทะเล ให้แบ่งส่วนที่มีความกว้างน้อยกว่า ๑๒ ไมล์ และถือว่าช่องแคบมะละกา เป็นน่านน้ำอาณาเขตของประเทศทั้งสอง 
                    ในปี พ.ศ.๒๕๑๓ อินโดนิเซียแถลงว่า จะจำกัดการเดินเรือในช่องแคยนี้ โดยกำหนดห้ามเรือบรรทุกน้ำมัน ขนาดตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ ตันขึ้นไป ไม่ให้ผ่านช่องแคบมะละกา ให้ไปใช้ช่องแคบลอมบ๊อค ทางตะวันออกของเกาะบาหลี กับช่องแคบมาคัสซา ระหว่างเกาะกาลิมันตัน สุลาเวสี อันเป็นน่านน้ำอาณาเขตของอินโดนิเซียกันแทน และกำหนดให้เรืออื่น ๆ นอกจากนี้ที่จะผ่านช่องแคบมะละกา จะต้องขออนุญาตจากอินโดนิเซียและมาเลเซียก่อน 
                    ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ มีการเจรจาประจำปีของประเทศทั้งสอง มีการเจรจาเรื่องปัญหากัมพูชา เรียกร้องให้เลขาธิการสหประชาชาติ จัดการประชุมระหว่างประเทศ เพื่อยุติความขัดแย้งในกัมพูชา และเรียกร้องให้เวียดนามถอนทหารออกจากกัมพูชา อีกเรื่องหนึ่งคือ ปัญหากบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ทั้งมาเลเซีย และอินโดนิเซีย ยืนยันในการที่จะเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย โดยมาเลเซียรับจะเป็นเจ้าภาพในการเจรจา ระหว่างแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโร กับรัฐบาลฟิลิปปินส์ 
                    ปัญหาสิทธิดินแดนบางแห่งที่ขัดแย้งกัน เนื่องจากอินโดนิเซียใช้หลักการกำหนดอาณาเขตน่านน้ำของประเทศ ที่เป็นกลุ่มเกาะ ทำให้บริเวณโดยรอบ กลุ่มเกาะนาตูนา และอานัมบัส ในทะเลจีนใต้เป็นของอินโดนิเซีย ยังผลให้มาเลเซียตะวันตก ถูกตัดขาดจากมาเลเซียตะวันออก เนื่องจากทางผ่านทั้งทางทะเลและทางอากาศ ตกเป็นของอินโดนิเซีย จึงต้องทำการเจรจากันต่อไป นอกจากนั้นประเทศทั้งสองยังมีปัญหาการแย่งสิทธิเหนือกลุ่มเกาะกิลิตัน และซิปิตัน ซึ่งอยู่นอกฝั่งรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย 
                    ฟิลิปปินส์  ความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์ ในระยะหลัง ๆ ดำเนินไปด้วยดี ในฐานะเป็นภาคีอาเซียนด้วยกัน 
                    ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง ครั้งที่ ๙ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงในความร่วมมือ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยตามแนวชายแดนของประเทศทั้งสอง ซึ่งได้ลงนามร่วมกันตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ เป็นต้นมา 
                  สิงคโปร์  ความสัมพันธ์เป็นไปด้วยดี มีการข้อตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดน และการปราบปรามการค้าของเถื่อน
ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้มีการลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการพัฒนาเกาะบาตัม ของอินโดนิเซีย ให้เป็นเขตแดนเศรษฐกิจเสรี สำหรับการลงทุนของต่างประเทศ 
                การประชุมคณะกรรมการชายแดนอินโดนิเซีย - ปาปัว นิวกินี  ได้มีการลงนามในข้อตกลงพรมแดนระหว่างประเทศอินโดนิเซีย กับปาปัว นิวกินี เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ เพื่อใช้ทดแทนข้อตกลงฉบับปี พ.ศ.๒๕๒๒ สาระสำคัญคือ ทั้งสองประเทศจะไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดนของแต่ละประเทศ ให้ที่พักพิงแก่กองกำลังเพื่อต่อต้านรัฐบาลของแต่ละฝ่าย และปาปัว นิวกินี จะต้องพิจารณาส่งผู้อพยพชาวอิเรียน จายา กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน 
                การคลี่คลายปัญหาติมอร์ตะวันออก ทางรัฐบาลออสเตรเลีย เคยมีนโยบายให้ชาวติมอร์ตะวันออก มีสิทธิกำหนดความสมัครใจของตนเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงก่อให้เกิดความตึงเครียดระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนิเซีย 
            ความสัมพันธ์กับประเทศไทย  ไทยกับอินโดนิเซียมีความสัมพันธ์ และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดตลอดมา และเพิ่มมากขึ้น เมื่อได้เข้าร่วมในการก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน - ASEAN) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ 
            ความร่วมมือระหว่างไทยกับอินโดนิเซีย เป็นความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม และอินโดนิเซียในฐานะที่เป็นสมาชิกกลุ่มประเทสไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด กลุ่มประเทศอิสลาม และกลุ่มประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันเป็นสินค้าออก (โอเปค) อินโดนิเซียได้ให้ความช่วยเหลือไทยในหลายกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขัดขวางการที่ ผู้แทนขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก.) จะเสนอปัญหาเข้าสู่ที่ประชุมองค์การของกลุ่มประเทศอิสลาม