วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผลกระทบต่อวัฒนธรรมของประเทศไทย


      หลักการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC )ภายในปี 2558 เพื่อให้อาเซียนมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ อย่างเสรี และเงินทุนที่เสรีขึ้นต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลำที่ชัดเจนในการดาเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าเพื่อสร้าง พันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
อาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สาคัญดังนี้
  1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
  2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
  3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทำงเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
  4.   การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

โดยมีรายละเอียดแยกตามหัวข้อดังนี้
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เป็นยุทธศาสตร์สาคัญของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น โดยอาเซียนได้กำหนดกลไกและมาตรการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดาเนินมาตรการด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว เร่งรัดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในสาขาที่มีความสาคัญลำดับแรก อำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคคล แรงงานฝีมือ และผู้เชี่ยวชาญ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสถาบันในอาเซียน
การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
(1) การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
(2) การเคลื่อนย้ายบริการเสรี
(3) การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
(4) การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีขึ้น
(5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี
ทั้งนี้ อาเซียนได้กำหนด 12 สาขาอุตสาหกรรมสาคัญลำดับแรกอยู่ภายใต้ตลาดและฐานการผลิตเดียวกันของอาเซียน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การขนส่งทำงอากาศ สุขภาพ e-ASEAN ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ รวมทั้งความร่วมมือในสาขาอาหาร เกษตรและป่าไม้
การเป็นตลาดสินค้าและบริการเดียวจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายการผลิตใน ภูมิภาค และเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางการผลิตของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยประเทศสมาชิกได้ร่วมกันดำเนินมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของอาเซียน
ได้แก่ยกเลิกภาษีศุลกากรให้หมดไป ทยอยยกเลิกอุปสรรคทำงการค้าที่มิใช่ภาษี ปรับประสานพิธีการด้านศุลกากรให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทำงธุรกรรม เคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี นักลงทุนอาเซียนสามารถลงทุนได้อย่างเสรีในสาขาอุตสาหกรรมและบริการที่ประเทศ สมาชิกอาเซียนเปิดให้ เป็นต้น
2. การเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขัน
เป้าหมายสาคัญของการรวมกลุ่มทำงเศรษฐกิจของอาเซียน คือ การสร้างภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง มีความเจริญรุ่งเรือง และมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันมี 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) นโยบายการแข่งขัน (2) การคุ้มครองผู้บริโภค (3) สิทธิในทรัพย์สินทำงปัญญา (IPR) (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (5) มาตรการด้านภาษี (6) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสมาชิกอาเซียนมีข้อผูกพันที่จะนากฎหมายและนโยบายการแข่งขันมาบังคับ ใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันที่เท่าเทียมกันและสร้างวัฒนธรรมการแข่งขันของภาค ธุรกิจที่เป็นธรรม นาไปสู่การเสริมสร้างการขยายตัวทำงเศรษฐกิจในภูมิภาคในระยะยาว
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทำงเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
การพัฒนาทำงเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน มี 2 องค์ประกอบ คือ (1) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลำงและขนาดย่อม (SME) (2) ความริเริ่มในการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration: IAI) ความริเริ่มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งในระดับ SME และเสริมสร้างการรวมกลุ่มของกัมพูชา ลำว พม่า และเวียดนาม ให้สามารถดาเนินการตามพันธกรณีและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอา เซียน รวมทั้งเพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่ม ทำงเศรษฐกิจ
4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
อาเซียนอยู่ในท่ามกลำงสภาพแวดล้อมที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกันและมีเครือ ข่ายกับโลกสูง โดยมีตลาดที่พึ่งพากันและอุตสหกรรมระดับโลก ดังนั้น เพื่อให้ภาคธุรกิจของอาเซียนสามารถแข่งขันได้ในตลาดระหว่างประเทศ ทำให้อาเซียนมีพลวัตรเพิ่มขึ้นและเป็นผู้ผลิตของโลก รวมทั้งทำให้ตลาดภายในยังคงรักษาความน่าดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาเซียนจึงต้องมองออกไปนอกภูมิภาค
อาเซียนบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยดาเนิน 2 มาตรการคือ (1) การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) และความเป็นหุ้นส่วนทำงเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด (CEP)กับประเทศนอกอาเซียน (2) การมีส่วนร่วมในเครือข่ายห่วงโซ่อุปทำนโลก


• กว่า 41 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การก่อตั้งองค์กร ผลงานของอาเซียน ถือได้ว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่ายในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา และด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในภาพรวม สามารถสรุปได้ดังนี้
1)  ด้านการเมืองและความมั่นคง: ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่เกิดขึ้น อาทิ สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความตกลงเพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นเขตแห่งสันติภาพ อิสรภาพและความเป็นกลาง มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ เสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาค รวมถึงสร้างกลไกในการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี สร้างบรรทัดฐานทางการเมืองและความมั่นคงร่วมกัน (เช่น การไม่สะสมอาวุธนิวเคลียร์และการไม่ใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา) และช่วยป้องกันความแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในภูมิภาค นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการดึงดูดประเทศมหาอำนาจหลายประเทศให้เข้าร่วมหารือและมีความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงร่วมกับอาเซียน โดยเฉพาะการจัดตั้งกลไก การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งถือเป็นด้านการเมืองและ ความมั่นคงเพียงที่เชื่อมประเทศทั้งสองภูมิภาคเข้าด้วยกันซึ่งมีทั้งสหรัฐฯ จีน รัสเซียและสหภาพยุโรป เข้าร่วมอยู่ด้วย
2)  ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจ: อาเซียนได้วางรากฐานของการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และการมีความตกลงกันทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ เช่น การคมนาคม การท่องเที่ยว การเงิน และการลงทุน ทั้งนี้ ก็เพื่อเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือระหว่างประเทศสมาชิกโดยเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างของระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากราคาสินค้าในหลายรายการที่ผลิตและค้าขายภายในประเทศสมาชิกอาเซียนมีราคาลดลงถูกลง ในขณะที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือการที่พลเมืองของหลายประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถไปท่องเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีกหลายประเทศโดยไม่ต้องใช้วีซ่า เป็นต้น นอกจากนี้ อาเซียนยังประสบความสำเร็จในการมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศภายนอกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศหรือกลุ่มประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน (ดูคำอธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อกลุ่ม/ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน”) อีกด้วย
3)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม: อาเซียนมีความร่วมมือกันเป็นจำนวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรม เช่น เรื่องการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดและโรคเอดส์ การป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ และโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งความร่วมมือเหล่านี้ต่างก็มีความคืบหน้าเป็นลำดับ อาทิ การมีความตกลงว่าด้วยการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามชาติที่เกิดจากไฟป่า การมีมาตรการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรคซาร์ส และไข้หวัดนก และการดำเนินการเพื่อทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปลอดยาเสพติดภายในปี 2558 เป็นต้น
• ในภาพรวม ไทยได้รับประโยชน์เป็นอย่างมากจากความร่วมมือด้านต่างๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและสันติภาพอันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต่างชาติเดินทางเข้ามาลงทุนและท่องเที่ยวในประเทศไทย การที่ไทยสามารถส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนได้มากขึ้น และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง รวมถึงการมีนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดินทางยังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากการมีกรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และการที่ไทยสามารถแก้ไข
ปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น โรคระบาด เอดส์ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และอาชญากรรมข้ามชาติ อันเป็นผลมาจากการมีความร่วมมือทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งหากไม่มีแล้ว ก็คงเป็นการยากที่ไทยจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้โดยลำพัง


ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยได้รับจากกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน

• ในด้านดุลการค้า ก่อนเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ไทยขาดดุลการค้ากับกลุ่มอาเซียน โดยมีสัดส่วนการส่งออกของไทยไปอาเซียนคิดเป็น 12% ของการส่งออกของไทยทั้งหมด แต่ภายหลังมี AFTA ในปี 2535 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าในระดับสูงมาตลอด และสัดส่วนการส่งออกของไทยไปอาเซียนก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยคิดเป็นกว่า 21% ของการส่งออกของไทยทั้งหมดในปัจจุบัน ทั้งนี้ มูลค่าการค้าส่งออกจากไทยไปอาเซียน 9 เดือนแรกของปี 2550 (ม.ค.-ก.ย.) คิดเป็นมูลค่า 22,932.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก ปี 2549 ในช่วงเดียวกัน (ซึ่งมีมูลค่า 20,156.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จำนวน 2,776.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 4,658.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
• ในด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เข้ามายังกลุ่มประเทศอาเซียน ปรากฏว่า สัดส่วนการลงทุนต่างชาติที่มาลงทุนในไทยได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2538 ไทยมีสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในอาเซียน คิดเป็น 7.69% (มูลค่าประมาณ2,004 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยถือเป็นอันดับ 5 ในอาเซียน ในขณะที่ในปี 2549 ไทยมีสัดส่วนการลงทุนของ นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาในอาเซียน เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 18.9 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 9,751 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ไทยเป็นอันดับ 2 ของแหล่งลงทุนในอาเซียน ทั้งนี้ การลงทุนในไทยของ นักลงทุนที่มาจากประเทศสมาชิกอาเซียน ก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเช่นกัน โดยในปี 2549 นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย มีมูลค่าสูงถึง 2,882 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 270% เมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนของปี 2548
• ในด้านการท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนมายังไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2550 สูงถึง 2,193,211 คน ส่วนปี 2549 จำนวนนักท่องเที่ยวอาเซียนมายังไทยมีสูงถึง 3,556,395 คน
• ในภาพรวม ภาครัฐของไทย ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนมาโดยตลอด เนื่องจากเล็งเห็นว่า อาเซียนเป็นตลาดที่มีความสำคัญและมีศักยภาพในการเจริญเติบโตต่อไป ประกอบด้วยประชากรรวมกันกว่า 560 ล้านคน โดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสาขาสำคัญจะช่วยให้ไทยสามารถขยายการค้าและการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพได้มากขึ้น เช่น สาขาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงสาขาบริการ อาทิ การท่องเที่ยว การบริการสุขภาพ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสาขาต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นสาขาที่อาเซียนจะเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจให้เห็น ผลเป็นรูปธรรมภายในปี 2553 ในส่วนของภาคเอกชน ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวและใช้โอกาสจากการลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนต่างๆ ลง ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น